คำเรียกสีในบริบทสังคมไทย

Main Article Content

ขนิษฐา น้อยบางยาง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดคำเรียกสีที่มีบริบทต่อสังคมไทย โดยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยกรอบแนวคิดเกี่ยวกับคำเรียกสีของเบอร์ลิน และเคย์ พบว่า 1) คำเรียกสีและการรับรู้ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันทำให้เกิดภาษาของแต่ละภาษาขึ้นซึ่งทำให้เห็นว่า คำเรียกสีเปรียบเสมือนเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นการแบ่งประเภทสีของวัฒนธรรมนั้นๆ ในงานวิจัยของเบอร์ลินและเคย์ ได้กล่าวถึงความสนใจในข้อสรุปของคอนคลิน ที่ว่า ภาษาแต่ละภาษานั้นมีลักษณะการจำแนกสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกันเลย แต่ละภาษาต่างก็มี ลักษณะเฉพาะตัว เบอร์ลินและเคย์จึงได้ทำการวิจัยเรื่องคำเรียกสี เพื่อพิสูจน์ข้อสรุปนี้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า คำเรียกสีนั้นเป็นสิ่งสากลในทุกภาษา ไม่ได้เป็นลักษณะเฉพาะ 2) คำเรียกสีในสังคมไทย ปัจจุบันสามารถสะท้อนการดำเนินวิถีชีวิตของคนในสังคม เช่น การแต่งตัว ชุดเสื้อผ้า การจัดบ้าน และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน 3) การรับรู้คำเรียกสี มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ ซึ่งการรับรู้สีก็สอดคล้องกับวัฒนธรรมสังคมด้วย ถ้าวัฒนธรรมทางสังคมมีความเรียบง่าย ไม่มีการใช้เทคโนโลยีมากในชีวิตประจำวันจะมีจำนวนคำเรียกสีพื้นฐานน้อย ในทางตรงกันข้าม ยิ่งมีวัฒนธรรมที่ซับซ้อน มากขึ้นและมีการใช้เทคโนโลยีมากจะมีจำนวนคำเรียกสีมากขึ้นด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กาญจนา นาคสกุล และคณะ. (2528). ภาษาไทยวันละคำ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมชัย สุวรรณวัฒนา. (2553). สีในวัฒนธรรมคติความเชื่อของไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนัฏฐากุล พรทิพยพานิช. (2557). คำเรียกสีในภาษาไทยสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2550). สมุดภาพ วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

พงศ์ศิริ คิดดี. (2558). สีแห่งความศรัทธาและสงบสุข. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ราล์ฟ ฟาบริ. (2536) ทฤษฎีสี: Color. แปลโดย สมเกียรติ ตั้งนโม. กรุงเทพฯ: โอเดียน สโตร์.

รุจิวรรณ เหล่าไพโรจน์. (2552). การศึกษาเปรียบเทียบคำเรียกสีภาษาไทยและภาษาเวียดนาม.(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศุภมาศ เอ่งฉ้วน. (2543). คำเรียกสีและมโนทัศน์เรื่องสีของคนไทยสมัยสุโขทัยและสมัยปัจจุบัน.(วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา เพชรวิชิต. (2545). การสร้างคำเรียกสีในภาษาไทยและภาษาลาว. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์. (2538). คำเรียกสีและการรับรู้สีของชาวจ้วงและชาวไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brent B. and Paul K. (1969). Basic color terms: Their universality and evolution. Berkley and Los Angeles. University of California Press.