การพัฒนาทักษะการพูด โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค G.I ร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1

Main Article Content

กฤติยาภรณ์ เหมุทัย
ไชยวัฒน์ ชุ่มนาเสียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) พัฒนาทักษะการพูดโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค G.I ร่วมกับสื่อประสม โดยผ่านเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ70 ของคะแนนเต็มและมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค G.I ร่วมกับสื่อประสม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี กลุ่ม 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เป็นการวิจัยทดลองแบบ One Group Post-test Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค G.I ร่วมกับสื่อประสม จำนวน 6 แผน 2) แบบประเมินทักษะการพูด ซึ่งประเมินทักษะการพูด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกเสียง และด้านบุคลิกภาพ จำนวนทั้งหมด 8 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสาระการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านประโยชน์ของรายวิชา ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน และด้านครูผู้สอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ
ค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาทักษะการพูด โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค G.I ร่วมกับสื่อประสม นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 31.39 คิดเป็นร้อยละ 78.48 และมีจำนวนของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดย ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค G.I ร่วมกับสื่อประสม มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.66, S.D. = 0.26)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรรณิการ์ ภูมิสายดร. (2553). การพัฒนาทักษะการเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้ชุดสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2521). หลักสูตรใหม่. เอกสารแนะนําหลักสูตรฉบับปรับปรุง.กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

คนิษา ลำภาศาล. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มเรื่อง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (G.I). (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์. (2555). ผลของการใช้เทคนิคการทดสอบย่อยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทางการเรียนและทักษะการทำงานร่วมกันในรายวิชา ส 503 สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สุโขทัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมณี. (2548). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นิตยา ชังคมานนท์์. (2544). การเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจีไอที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทํางานร่วมกันในรายวิชา ส.503 สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมธัยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สุโขทัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไพบูลย์ ดวงจันทร์. (2542). การใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฟ้อน เปรมพันธุ์. (2542). ศาสตร์แห่งการใช้ภาษาไทย. กาญจนบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.

_______. (2546). หลักการทฤษฏีและนโยบายการปฏิรูปการอาชีวศึกษาและผลการดำเนินงานการปฏิรูปการอาชีวศึกษา 2546. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2540). การพูดเพื่อธุรกิจ. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1991). Learning together and alone. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning: theory research and practice. (2nd ed.). Boston: Allyn and Bacon.