การบูรณาการระบบแสดงตนอัตโนมัติกับการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเลของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.)

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ พบสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วชิรพร วงศ์นครสว่าง กองทัพเรือ
  • อรัญญา ศรียัพ โรงเรียนนายเรือ

คำสำคัญ:

การตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเล, ระบบแสดงตนอัตโนมัติ, ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล, ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ระบบแสดงตนอัตโนมัติ (AIS) สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงทางทะเล 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการบูรณาการระบบ AIS ของไทย รองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และเสริมสร้างการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเล 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการผลักดันเชิงนโยบายการบูรณาการระบบ AIS และสร้างการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเลอย่างเป็นรูปธรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) เจ้าหน้าที่รัฐ คือ บุคคลที่ทำงานในหน่วยงานภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (ศรชล.) และ 2) กลุ่มผู้ประกอบการท่าเรือเอกชน หน่วยงานละ 2 คน โดยเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบ AIS หรือการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเล (MDA) โดยแบ่งเป็นผู้บริหารหน่วยงานละ 1 คน ผู้ปฏิบัติ หน่วยงานละ 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามปลายเปิดเพื่อรับทราบข้อเท็จจริงในปัจจุบันของระบบ AIS และ MDA และ 2) แบบสอบถามปลายปิด แบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) เป็นแบบสอบถามที่พัฒนามาจากคำตอบของแบบสอบถามปลายเปิด เพื่อจัดระดับความสำคัญในคำถามแต่ละข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ สรุปผลการวิจัยดังนี้ 1. การศึกษาแนวทางการใช้ระบบ AIS พบว่า เป็นระบบพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานและระบบงานทางทะเลอื่น ๆ มีผลต่อความปลอดภัยทางทะเล 2. การบูรณาการระบบ AIS เพื่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจากหน่วยงานที่ให้บริการทางทะเลหลากหลายหน่วยงาน จึงจำเป็นที่จะต้องทำให้โครงสร้างเครือข่ายของระบบ AIS เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เพื่อทำให้การใช้งานเป็นไปด้วยความเข้าใจ 3. ผลการศึกษาแนวทางเชิงนโยบายการบูรณาการระบบ AIS คือ ไม่มีการกำหนดโครงสร้างระบบและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน โดยมีการเสนอหน่วยงานที่ควรปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการรวบรวมข้อมูลทางทะเล

References

กรมเจ้าท่า. (2560). ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 95/2560 เรื่องการเปิดระบบสำแดงตนอัตโนมัติ (Automatic Identification System: AIS) เมื่อเข้ามาในน่านน้ำไทย หรือเดินเรืออยู่ภายในน่านน้ำไทย. กรุงเทพฯ: กรมเจ้าท่า.

กรมยุทธศึกษาทหารเรือ. ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ทหารเรือ และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ. (2555). เทคโนโลยีระบบภาพสถานการณ์ทางทะเล. นาวิกศาสตร์, 95(2), 8-14.

เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ และคณะ. (2550). ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สถานการณ์และข้อเสนอ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วชิรพร วงศ์นครสว่าง. (2562). เอกสารประกอบการบรรยาย ประเด็นปัญหาความมั่นคงกับกิจการทางทะเล. นครปฐม: กรมยุทธศึกษาทหารเรือ.

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล. (2558). เอกสารประกอบการบรรยายศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. กรุงเทพฯ: ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล.

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2558). นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2558 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

อดิเรก มหันตะการศรี. (2554). ระบบควบคุมติดตามระยะไกลและสารสนเทศเครื่องหมายทางเรือในน่านน้ำไทย AUTOMAIC IDENTIFICATION SYSTEN (AIS). กรุงเทพฯ: กรมอุทกศาสตร์.

Balci, M., & Pegg, R. (2006). Towards Global Maritime Domain Awareness - "Recent Developments and Challenges". 2006 9th International Conference on Information Fusion. Retrieved March 15, 2021, from https://ieeexplore.ieee.org/document/4085988

Boraz, S. C. (2009). Maritime domain awareness: Myths and realities. Naval War College Review. 62(3). Retrieved March 9, 2021, from https://digital-commons.usnwc.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1694&context=nwc-review

Crissy, P. (2010). Maritime Security The National Maritime Intelligence Center. The U.S.Coastguard Journal of Safety & Security at Sea, Proceedings of the Maritime Safety and Security Council. 67(2), 28-31.

International Association of Marine Aids to Navigation ang Lighthouse Authorities, IALA. (2016). IALA Guideline 1802 An Overview of AIS. Retrieved March 15, 2021, from https://www.navcen.uscg.gov/pdf/IALA_Guideline_1082_An_Overview_of_AIS.pdf

International Maritime Organization, IMO. (1974). International Convention for the Safety of Life at Sea (SOLAS). Retrieved March 15, 2021, from https://www.imo.org/en/About/Conventions/Pages/International-Convention-for-the-Safety-of-Life-at-Sea-(SOLAS),-1974.aspx

Nimmich, J. L. & Goward, D. A. (2007). Maritime Domain Awareness: The Key to Maritime Security. International Law Studies, 83. Retrieved March 20, 2021, from https://digital-commons.usnwc.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1160&context=ils#:~:text=Maritime%20Domain%20Awareness%20is%20the,journey%20that%20has%20only%20begun

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-27