การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา, ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก, เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและองค์ประกอบ สร้างรูปแบบ และรับรองรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพและองค์ประกอบของการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาฯ มี 2 ขั้นตอนย่อย คือ การสังเคราะห์ขอบข่ายเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเปรียบเทียบกับกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนฯ เพื่อใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 400 โรงเรียน 2) การสร้างรูปแบบฯ โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบ และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ 21 คน และ 3) การรับรองรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนฯ มีค่าเฉลี่ยรวมระดับการดำเนินงานรวมทุกมาตรฐานอยู่ในระดับมาก (=3.55, S.D.=0.91) โดยมีองค์ประกอบที่สังเคราะห์จากขอบข่ายเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (AECT) เปรียบเทียบกับกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนฯ และกระบวนการบริหารจัดการ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 คณะกรรมการบริหารงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา องค์ประกอบที่ 2 ขอบข่ายงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และองค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหารงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สำหรับการสร้างรูปแบบฯ จากขั้นตอนที่ 1 และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ 21 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
ต่อองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความเหมาะสม (=4.73, S.D.=0.59) และความเป็นประโยชน์ (=4.67, S.D.=0.54) ส่วนความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (=4.43, S.D.=0.72) ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนฯ ที่พัฒนาขึ้น มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) คณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 2) ขอบข่ายงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้แก่ เทคโนโลยีพื้นฐานด้านสื่อโสตทัศน์ สื่อสารมวลชนเพื่อการศึกษา สารสนเทศเพื่อการศึกษา สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และวิทยบริการ และ 3) กระบวนการบริหารงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการวางแผน การจัดองค์การ การควบคุม การประสานงาน การเป็นผู้นำ การประเมินผล และการจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด (=4.80, S.D.=0.22=4.79, S.D.=0.27) และมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้อยู่ในระดับมาก (=4.41, S.D.=0.54)
Downloads
References
Azlim, M., Amran, M. & Rusli, M. R. (2015). Utilization of education technology to enhance teaching practices: case study of community college in Malaysia. Procedia – Social and Behavioral Sciences, 195, 1793-1797.
Chaimin, C. & Sengsri, S. (2020). Situation of primary school library under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) in Thailand. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal (GTHJ.), 26(1), 23-35. [In Thai]
Kaewtit, K. (2017). A Library operational plan for Hongsonsuksa school under the Royal Patronage of Her Royal Highness Princess Bejaratana, Mae Hong Son Province. Independent Study Master of Education (Education), Chiang Mai University. [In Thai]
Khunnard, T. (2014). A Model for the management of information and communication technology in the primary schools. Doctor of Education, Naresuan University. [In Thai]
Library Research Services. (2015). School libraries impact studies in the USA. Retrieved August, 27, 2018, form https://www.lrs.org/data-tools/school-libraries/impact-studies/
Maher, K. & McGilvray, J. (2017). Elementary and secondary education act & libraries. Retrieved August, 27, 2018, form http://www.districdispatch.org/policy-issues/educationschool-libraries/
Maitaouthong, T. (2018). School libraries in the 21st Century: Global concepts. T.L.A. Bulletin, 62(2), 1-17. [In Thai]
Namtian, F. (2014). Factors that affect parent’ s decision to enroll their children in private kindergartens in metropolitan Bangkok. An Online Journal of Education (OJED), 9(3), 327-338. [In Thai]
National Statistical Office. (2018). The Number of educational establishments in the school system classified by Jurisdiction in Bangkok and the Region, academic year 2009-2016. Retrieved August, 27, 2018, form http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_03_52_TH_.xlsx [In Thai]
Pelletier, M. (2020). Libraries are a vital educational technology resource. Retrieved August, 27, 2018, form https://www.educationworld.com/libraries-are-vital-educational-technology-resource
Polyiam, E., Arreerard, W. & Thianthong, M. (2019). An Education approach for a model of information technology management for learning and teaching in small size primary schools to national education plan 2017-2036 for school 4.0. Journal of Science and Technology Buriram Rajabhat University, 3(2), 1-14. [In Thai]
Rawiphan, W., Srivicahi, S., Saengnont, K. & Buasiri, A. (2019). Guideline for using innovation and information technology in teacher’ s learning management in accordance with Thailand 4.0 policy, Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Education Service Area Office 2. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU, 6(1), 116-129. [In Thai]
Sangnapaboworn, W. (2009). The development of primary education in Thailand and its present challenges: From quantity to quality through effective management. In A. Yonemura (Ed.). Universalization of primary education in the historical and developmental perspective. (pp.259-303). Chiba: Institute of Developing Economies.
Scherer, R., Siddig, F. & Teo, T. (2015). Becoming more specific: measuring and modeling teachers’ perceived usefulness of ICT in the context of teaching and learning. Computers and Education, 88, 202-214.
Suwanthanongchai, O., Jenkwao, S. & Sithitool, T. (2015). State and problems of the school library management under Jurisdiction of Pathumthani Primary Educational Service Area Office 2. In The 6th Hatyai National and International Conference. (pp.1053-1065). Songkhla: Hatyai University. [In Thai]
Tanomvech, R. (2016). State and problem of school library management of North Bangkok Network under Bangkok Metropolitan Administration. Independent Study Master of Education (Educational Administration), Phranakhon Rajabhat University. [In Thai]
The Office of the Basic Education Commission (OBEC). (2013). Library school standard criteria under the Office of the Basic Education Commission, 2013. Bangkok: OBEC. [In Thai]
Wimolsittichai, N. (2017). School libraries and their roles in rural Thailand: Perceptions of public primary school principals. Ph.D., Queensland University of Technology, Queensland.