รูปแบบการดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชนในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • น้อย คันชั่งทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ปราณี ซื่ออุทิศกุล สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

บ้านหนังสือชุมชน ห้องสมุดประชาชน รูปแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างรูปแบบการดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชนในจังหวัดพิษณุโลก โดยมีวิธีการดำเนินการดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบการดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชน แหล่งข้อมูลคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 21 คน  ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชน  โดยใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ  ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชน แหล่งข้อมูลคือ บ้านหนังสือชุมชนในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 2 แห่ง กลุ่มตัวอย่างคือ คณะกรรมการดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชน และผู้ใช้บริการบ้านหนังสือชุมชนบ้าน  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าพิสัยควอไทล์   ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชนในจังหวัดพิษณุโลก มี 6 องค์ประกอบ คือ โครงสร้างทางกายภาพ  การบริหารจัดการ อาสาสมัคร บริการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้  ทรัพยากรสารสนเทศ  เครือข่ายและการมีส่วนร่วมของชุมชน  ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชนพบว่า ผู้ดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชนมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก  ผู้ใช้บริการบ้านหนังสือชุมชนวัดเกาะแก้วประชานุรักษ์มีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด  ส่วนผู้ใช้บริการบ้านหนังสือชุมชนบ้านเหนือรุ่งอรุณมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

Ajanatorn, N. (2009). Cooperative networking models for public libraries in Thailand and Lao People’s Democratic Republic : A case study in Loei province and Vientane. (Doctoral dissertation, Ph.D. in Regional Development Strategies, Loei Rajabhat University,Thailand). [In Thai]

Chalarak, T. (n.d.). Community learning center for lifelong learning education. n.p. [In Thai]

Changket, S. (2011). Development of community library: A model for the promotion of

lifelong learning. (Doctoral dissertation, Ph D. in Lifelong Education and Human Development, Silpakorn University, Thailand). [In Thai]

Charoensak, R. (2014). The Development of living library model for life-long learning in community. (Doctoral dissertation, Ph.D. in Khon Kaen University, Thailand). [In Thai]

Charoenket, T. (2008). A Living library model for Roi-Et Rajabhat Universtiy. (Master of Arts thesis in Library and Information Science, Khon Kaen University, Thailand). [In Thai]

Department of Local Administration. (2006). Community education center standard. DLA. [In Thai]

Kaewtraiha, T. (2014, January). Library operations according to the education act 1999. Non-Formal Education Journal. 3(2), 5-14. [In Thai]

Khunchangthong, N. & Sueuthiskulj, P. (2020, July-December). The Operating of community learning center in Phitsanulok province. Journal of Library and Information Science Srinakharinwirot University. 13(2), 27-38. [In Thai]

Northern Non-Formal and Informal Education. (2014). A model of community participation to promote reading in the smart book house. n.p. [In Thai]

Office of the National Education Commission: ONEC. (2003). Managing lifelong learning resources: Public libraries. ONEC. [In Thai]

Office of the Non-Formal and Informal Education: NFE. (2014). Operational focus policy of the Office Non-Formal and Informal Education of fical year 2013. NFE. [In Thai]

Office of the Non-Formal and Informal Education: NFE. (2016). Operational guidlines for community book house. Bangkok: NFE. [In Thai]

Sacchanand, C. (2007). Evaluation of the performance of public libraries in Thailand in accordance with the public library standard. ONEC. [In Thai]

Thai Library Association: TLA. (2007). 2007 Public library standard. Retireved April 14, from http://www.tha.or.th/people_lib_standard.pdf

Yooktatat, K. (2003). Guidelines for organizing activities to promote learnnig. Bangkok:

NFE. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23