ระบบฐานข้อมูลดิจิทัลภูมิปัญญานาเชือก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • ภาธร นิลอาธิ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ฤทัย นิ่มน้อย คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ฐานข้อมูลดิจิทัล, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, นาเชือก, มหาสารคาม, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ รวบรวมข้อมูลความต้องการของบุคคลในชุมชน (ภาคีกลุ่มคนรักนาเชือก) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์บุคคลในชุมชนเพื่อเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น การจัดการข้อมูล การออกแบบ และการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นนาเชือก ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ให้อยู่ในรูปแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้สำหรับการจัดเก็บ เผยแพร่ และให้บริการสืบค้นข้อมูลภูมิปัญญานาเชือก ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการมีส่วนร่วมของภาคีกลุ่มคนรักนาเชือกในการจัดการข้อมูลภูมิปัญญาต่าง ๆ ซึ่งพัฒนาโดยโปรแกรมเว็บแอปพลิเคชัน ด้วยภาษาพีเอชพี (PHP) โปรแกรม Bootstrap เป็น CSS framework สำหรับการพัฒนาส่วนติดต่อกับผู้ใช้ และใช้ฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) สำหรับการจัดเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ด้านการข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถแบ่งเป็น 9 ประเภท คือ 1) กองทุนและธุรกิจชุมชน 2) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) เกษตรกรรม 4) แพทย์แผนไทย 5) ภาษาและวรรณกรรม 6) โภชนาการ 7) ศาสนาปรัชญาและประเพณี 8) ศิลปกรรม และ 9) อุตสาหกรรมและหัตถกรรม ตามเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากภาคีคนรักนาเชือก ได้เล็งเห็นถึงการนำข้อมูลไปใช้เพื่อการเรียนรู้ และด้านความต้องการเครื่องมือสำหรับการจัดการข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคีคนรักนาเชือก มีความต้องการระบบฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ความรู้ และเผยแพร่ข้อมูลภูมิปัญญานาเชือก

Downloads

Download data is not yet available.

References

Bhrukitti, A. (2016). Ability to Adapt to Drought in Sensitive Areas, Northeastern Region. Mahasarakham: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahasarakham University. [In Thai]

Chansiriwat, T. el al. (2018). The Development of Local Wisdom Database System for Buddhist Lent Candle Pattern, Ubonratchathani Province. Retrieved April 18, 2002, from https://rerujournal.reru.ac.th/wp-content/uploads/2018/03/OK-9-ธิติพร-ชาญศิริวัฒน์_ยุทธจักร.pdf. [In Thai]

Emyuak. S & Sonthaya. S. (2016). Development of the Local Food Database in the Area of Wat-Bot, Phitsanulok Province. Retrived April 18, 2002, from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/64992/53215. [In Thai]

Inta, O. (2017). Integrating Local Wisdom : Knowledge Management on Local Wisdom in Doi Lo District, Chiangmai Province. Retrieved August 11, 2022, from http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1335. [In Thai]

Juychum, D & Mettarikanon, D. (2017). Database Development on the Wisdom, Arts and Cultures in the Three Southern Border Provinces. Retrieved April 18, 2002, from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/68168/71172. [In Thai]

Loonpe. T, Sutthisai, W & Nikornpittya, S. (2018). The Folk Doctor Local Knowledge Pattern in Herbs of Mahasarakam Province. Retrieved April 18, 2002, from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jgsnsbc-journal/article/view/226612/163070. [In Thai]

Mahasarakham Provincial Culture Office. (2018). Doon Lamphan Hunting Restricted Area. Retrieved March 18, 2021, from https://www.mculture.go.th/mahasarakham/ewt_news.php?nid=1124&filename=index. [In Thai]

Ministry of Education. (2008). Thai Wisdom Teachers’ Recruiting Guide. Bangkok: 21 Century Company Limited. [In Thai]

Pasorn, P. et al. (2014). The Quality Improvement of Herbal Agriculture by Using Organic Fertilizer to Serve the Herbal Processing Industry. Retrieved April 20, 2002, from http://rir.nrct.go.th/rir/?page=researching&nid=103814. [In Thai]

The Secretariat of The House of Representatives. (2019). Purposes and Section Annotation of Constitution of the Kingdom of Thailand 2017. Retrieved March 18, 2021, from https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/draftconstitution2/download/article/article_20191021103453.pdf. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31