กลยุทธ์การบริหารงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยสู่องค์กรสมรรถนะสูง : กรณีศึกษาห้องสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จันทรรัตน สิทธิสมจินต์ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุดใจ ธนไพศาล สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กนกอร สมปราชญ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรวีร์ รุ่งเรือง

คำสำคัญ:

การพัฒนากลยุทธ์, ห้องสมุดมหาวิทยาลัย, เกณฑ์ราลวังคุณภาพแห่งชาติ, องค์กรสมรรถนะสูง, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติสู่องค์กรสมรรถนะสูง โดยศึกษาในกรณีของสำนักวิทยบริการหรือห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ 3 ชุด และแบบสอบถาม 2 ชุด ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของห้องสมุดฯ จำนวน 69 คน กลุ่มอาจารย์ที่ผ่านการอบรมการพัฒนาอาจารย์แกนนำด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจำนวน 35 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง กลุ่มผู้ใช้บริการห้องสมุด 1,700 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นห้องสมุดมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียนที่มีแนวปฎิบัติที่ดี จำนวน 2 แห่ง และห้องสมุดคู่เทียบเคียง 2 แห่ง ที่ได้คัดเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษาได้พัฒนาเป็นกลยุทธ์การบริหารงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยสู่องค์กรสมรรนะสูงจำนวน 12 กลยุทธ์ในระดับแนวทาง

Downloads

Download data is not yet available.

References

นรวัฒน์ ชุติวงค์ และ ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 34(130), 47-58.

พสุ เดชะรินทร์. (2549). รายงานผลการศึกษาพัฒนาองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง.
กรุงเทพฯ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฒาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์. (2548). การวางแผนกลยุทธ์ศิลปะการกำหนดแผนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. พิมพ์คครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัทอินโนกราฟฟิกส์ จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2554). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2555-2556.
กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

Blanchard, K.H. (2007). Leading at a higher level: Blanchard on leadership and creating highperformance organization. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Buytendijk, F. (2006). The Five Keys To Building A High-Performance Organization.Business Performance Management, 4(1), 24-30.

Certo, S.C. and Peter, J.P. (1991). Strategic Management: Concept and Application. New York: McGraw-Hill.

Holbeche, L. (2005). The High Performance Organization: Creating Dynamic Stability and Sustainable Success. Amsterdam: Elsevier.

Linder, J.C. and Brooks, J.D. (2004). Transforming the public sector. Retrieved 2012 January 22. URL: https://199.200.17.56/SiteCollectionDocuments/PDF/government.pdf

Robbins, S.P. and Judge, T.A. (2013). Organizational Behavior. 15th ed. Boston: Pearson.

Shannon, G.S. and Bylsma, P. (2007). The Nine Characteristics of High-Performing Schools: A research-based resource for schools and districts to assist with improving student learning. 2nd ed. Olympia, WA: OSPI.


Waal, A.A. (2010). The characteristics of a High Performance Organization. Retrieved 2012 January 29. URL: https://www.hpocenter.nl/wp-content/uploads/ 2013/07/Researchpaper-The-characteristics-of-a-HPO-H

Downloads