การจัดการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการสาระท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดเชิงระบบและทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ผุสดี เพ็ชรศิลา
กรัณย์พล วิวรรธมงคล
ศุภลักษณ์ สัตย์เพริศพราย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน บูรณาการสาระท้องถิ่น การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ก่อนเรียนและหลังเรียน ความสามารถในการคิดเชิงระบบ และความสามารถด้านทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสระเตยพัฒนา ตำบลหนองโสน อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับฉลาก เนื่องจากกลุ่มโรงเรียนมีความใกล้เคียงกัน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 แบบทดสอบก่อนเรียน–หลังเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.68 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.51 แบบประเมินความสามารถการคิดเชิงระบบ และแบบประเมินทักษะชีวิต มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.80–1.00 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า


  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการสาระท้องถิ่น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1) ความเข้าใจกับปัญหา ขั้นที่ 2) ระบุปัญหาและข้อมูลสำคัญ ขั้นที่ 3) ระดมสมองจากความรู้เดิม ขั้นที่ 4) วิเคราะห์ปัญหาที่ได้พบ ขั้นที่ 5) กำหนดวัตถุของการแก้ปัญหา ขั้นที่ 6) ทดลองเรียนรู้ด้วยตนเอง ขั้นที่ และ 7) รายงานผลการแก้ปัญหา

  2. การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

  3. ความสามารถด้านการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี

  4. ทักษะชีวิตของนักเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ ใจอ่อน และกตัญญุตา บางโท. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

เจษฎายุทธ ไกรกลาง. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานต่อการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

มณฑนา บรรพสุทธิ์. (2553). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุสดา จะปะเกีย. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีวิทยาและความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรการสอน: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สกล วรเจริญศรี. (2550). การศึกษาทักษะชีวิตและการสร้างโมเดลกลุ่มฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สราวุธ พัชรชมพู. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Kreuzer, J. M. G. (2001). Foreword: System dynamics in education. System Dynamic, 9(2), 120-135.