ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และวิทยฐานะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร จากการเปิดตารางของโคเฮน จำนวน 168 คน โดยการแบ่งประชากรตามสัดส่วนเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test แบบ Independent) การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’) ผลการศึกษา พบว่า
1) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร มีวุฒิการศึกษาต่างกัน ค่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ทั้งภาพรวมและรายด้าน
3) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานต่างกัน พบว่า ค่า F มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ทุกด้าน
4) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ที่มีวิทยฐานะต่างกัน พบว่า ค่า F มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
ข้อความที่ปรากฎอยู่ในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
References
กรรณิกา โกสันเทียะ. (2562). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.
กัญจ์ชลิการ์ กันทะเจตน์. (2563). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยเทคนิค ระยอง. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ชูเกียรติ แสงเฟือง. (2562). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.
ดาว อินผ่อง. (2561). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางเขน. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ปาณพิชญ์ชา สว่างจิตต์. (2562). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ่อทองวงษ์จันทร์วิทยาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศศิวิมล พัฒนาวัฒน์. (2562). สภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยพะเยา.
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3. (2564-2569). กรุงเทพฯ: บริษัท วันไฟน์เดย์.
สุรภี ศรีหิรัญ. (2561). การศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
โสภิต ฉายะสถิตย์. (2562). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสองภาษาในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรุณศรี เทวโรทร. (2561). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2.วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อัจฉราพร สารสมัคร. (2561). การศึกษาความพึงพอใจของข้าราชการครูที่มีต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียน สิงห์สมุทร. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cohen, et al. (2011). Research methods in education (7th Ed.). New York: Routledge.