A Study of Sati in Theravāda Buddhist Scriptures

Main Article Content

Natthakit Mahissaro (Anuruktrakoon)
Phramaha Mongkholkan Thitadhammo (Klangphanorm)
Phramaha Hai Dhammamedhi (Saechua)

Abstract

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาสติในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) ศึกษาและวิเคราะห์สติที่ปรากฎในคัมภีร์พระไตรปิฎก และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา และ (2) เสนอการประยุกต์ใช้สติในการดำเนินชีวิตประจำวัน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก วรรณกรรมพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่อง “สติ” โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำเสนอเรื่อง “สติในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท” ผลการวิจัยพบว่า (1) สติเป็นการระลึก นึกถึง ในการควบคุมจิตใจโดยไม่เผลอ โดยดึง ตรึง จับ กำกับเรื่องราวต่างๆ ในการปฏิบัติธรรมอีกด้วย สติเป็นคำกลางๆ ที่จะต้องอยู่ร่วมกับหมวดธรรมอื่น สติในแต่ละหมวดธรรมเป็นบริบทไปเพื่อการเป็นคนดี และเพื่อการปฏิบัติธรรม และมีคุณค่าทางจริยธรรม การวิเคราะห์เรื่องสติในคัมภีร์พระไตรปิฎก และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา พบว่า สติเป็นการตัดสินในเรื่องการต้องอาบัติของภิกษุ ภิกษุณี เป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ เป็นหลักในการปฏิบัติธรรม เป็นองค์ธรรมของภิกษุ เป็นธรรมที่มีในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระโพธิสัตว์ เป็นผลของการศึกษาและปฏิบัติ เป็นส่วนหนึ่งแห่งคำสอน เป็นสภาวธรรม และเป็นข้ออ้างเรื่องอาบัติ และพบว่า (2) การประยุกต์ใช้สติในการดำเนินชีวิตประจำวัน จากกรณีศึกษาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา อธิบายการประยุกต์ใช้ตามคุณค่าของทางจริยธรรมมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกายและจิตใจ ด้านการพัฒนาชีวิต และด้านการยกระดับจิตใจ จึงพิจารณาได้ว่า สติเป็นเครื่องควบคุมจิตใจ และเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาจิตใจ จึงถือได้ว่า สติยังเป็นหลักธรรมสำคัญที่สุดในนำมาปรับประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิตของมนุษย์

Article Details

Section
Research Articles

References

เตือนใจ สุกใส. (2559). “รูปแบบการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการสำหรับนักเรียนประถมศึกษา”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ไทยรัฐ ออนไลน์. (2560, 5 พฤษภาคม) สู่ยุคสังคมเสื่อม สุดท้ายก็ลงที่เด็ก. สพฐ. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 4 เมษายน 2565 จากhttps://www.thairath.co.th/ newspaper/columns/931002

พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน กลฺยาณธมฺโม). (2557). เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2538). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดปรีชา นนฺทโก (จุลเจือ). (2560). “การศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดระยอง”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปิฏกจุฬาภัยเถระ. (2556). มิลินทปัญหา เล่ม 1 ฉบับ มูลนิธิปราณี สำเริงราชย์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ประจวบคีรีขันธ์: มูลนิธิปราณี สำเริงราชย์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระพุทธโฆสาจารย์. (2553). คัมภีร์วิสุทธิมรรค ฉบับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรส จำกัด.

พระสิริมังคลาจารย์. (2553). คัมภีร์มงคลทีปนีแปล ฉบับ พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน). (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

พระอุปติสสเถระ. (2557). วิมุตติมรรค ฉบับ พระพรหมบัฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยาม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

หวิน จำปานิน. (2561). “กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูเชิงพุทธบูรณาการของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เอื้อมอร ชลวร. (2554). “การจัดการความรู้เชิงพุทธบูรณาการ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.