ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ธนกฤต ศรีทองปลอด
อรพรรณ ตู้จินดา
ดวงใจ ชนะสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร 2) ระดับมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 254 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า


          1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความคิดความเข้าใจในระดับสูง ความสามารถในการนำปัจจัยต่างๆ มากำหนดเป็นกลยุทธ์
การกำหนดวิสัยทัศน์ ความคาดหวังและสร้างโอกาสสำหรับอนาคต และความคิดเชิงปฏิวัติ


          2) ระดับมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร อาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย บุคลากร ส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการมีส่วนร่วมและส่งเสริมสนับสนุน


          3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ประกอบด้วย ความคาดหวังและสร้างโอกาสสำหรับอนาคต (X3) และความคิดความเข้าใจในระดับสูง (X1) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อมาตรฐานการดำเนิน
งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 55.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมการวิเคราะห์การถดถอย คือ tot = 1.59 + 0.53 (X3) + 0.12 (X1)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ:กระทรวงมหาดไทย.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). หนังสือราชการกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น มท 0809.4/ว828 ลงวันที่ 22 เมษายน 2564. สืบค้น เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564, จาก http://www.dla.go.th/servlet/DocumentServlet?documentType=2&isSbpac=N? %3E&fpage=y&_mode=changePage&page=50

นภัสสร สว่างโคตร และคณะ. (2553). การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ตามทัศนะของบุคลากรเขตอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(1), หน้า39-50.

นวลจันทร์ จุนทนพ. (2559). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นพวรรณ บุญเจริญสุข. (2560). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ผุสดี ศรีเพ็ญ และคณะ. (2557). การศึกษาสภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลท่านั่ง อำเภอโพนทะเล จังหวัดพิจิตร. วารสารการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 4(7), หน้า 117-130.

พิสมัย เจริญลักษณ์. (2556). ความพร้อมของหัวหน้าศูนย์กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. (2552). ภาวะผู้นำทางการศึกษาในสังคมโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศิริเพ็ญ สกุลวลีธ์. (2556). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.