การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1

Main Article Content

ธนวรรณ รัตนเจริญ
กัลยมน อินทุสุต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของครู อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเพื่อศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล มีจำนวน 57 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffé's ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความคิดเห็นครูต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นครูต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 สามารถสรุปผลได้ดังนี้

          2.1 ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน


          2.2 ครูที่มีวิทยฐานะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05


          2.3 ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา บุญอนันต์วงศ์. (2561). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

จิรารัตน์ กระจ่างดี. (2562). การศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

จุมพล พูลภัทรชีวิน ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา และอดิศวร์ วงษ์วัง. (2553). การวิเคราะห์บริบท : ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลธิชา ร่มโพธิ์รี. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชวุธ ปญฺญาวชิโร (เพชรไพร). (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภิรญา ขัตติยะ. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนวัดวังน้ำาขาว. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภูมิภัทร กลางโคตร์. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รัชพล เชิงชล. (2560). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สยุมภู เหมือนนิรุทธ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. “การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management inDigitalEra)”. [Online]. สืบค้น เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 จาhttps://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/๕๒๒๓๒/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir.

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Fducation (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Cohen, L., Manion, L, & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th ed.). New York: Routledge.