การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนในการวัดระหว่างเพศของแบบวัด ความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความเที่ยงและความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนในการวัดระหว่างเพศของแบบวัดความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทยจำนวน 480 คน สุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอนด้วยขนาดของโรงเรียนและเพศจากชุดข้อมูลผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA 2015) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคลและแบบวัดความวิตกกังวลในการสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เปียร์สันและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุกลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษามีความเที่ยงสูงโดย (a=0.82) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าโมเดลการวัดความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนมีความตรงเชิงโครงสร้างเป็นอย่างดี (c2=1.98, df=3, p-value=0.58, CFI=1.00, RMSEA<0.01, SRMR =0.01) และ 2) แบบวัดความวิตกกังวลของนักเรียนมีคุณสมบัติไม่แปรเปลี่ยนในการวัดระหว่างเพศแบบเคร่งครัด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
ข้อความที่ปรากฎอยู่ในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
References
กนกวรรณ ปรีดิ์เปรม, สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, และเมธาวี อุดมธรรมานุภาพ. (2563) ผลของการสวดมนต์และการฟังบทสวดมนต์ที่มีต่อความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความศรัทธาในพุทธศาสนา.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8(2), มีนาคม – เมษายน.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2554). การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดระหว่างกลุ่มผู้ถูกวัดด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 1(1), 69-80.
ลักขณา สริวัฒน์. (2561). ทำไมจึงต้องมีการปรับตัว? วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9(3), 7-17.
วิชญ ผาติหัตการ. (2564). ผลของดนตรีคลาสสิคต่อผลสัมฤทธิ์ในการสอบและความวิตกกังวลในการสอบของ ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว-แสดงตัว. (Doctoral dissertation).
อัครเดช เกตุฉ่ำ และธัชพงศ์ เศรษฐบุตร. (2565). การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนในการวัดระหว่างเพศของแบบวัดการยอมรับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 28(1), 363-379.
Clark, D. B., Smith, M. G., Neighbors, B. D., Skerlec, L. M., & Randall, J. (1994). Anxiety disorders in adolescence: Characteristics, prevalence, and comorbidities. Clinical Psychology Review. 14(2), 113-137.
Ergene, T. (2003). Effective interventions on test anxiety reduction: A meta-analysis. School psychology international. 24(3), 313-328.
Jalilian, F., Mirzaei-Alavijeh, M., Karami-Matin, B., Hosseini, S. N., Jouybari, T. A., Mahboubi, M., & Firoozabadi, A. (2016). Test anxiety among Iranian college students; investigation the role of Socio-Demo graphic factors. Research Journal of Applied Sciences. 11(8), 640-644.
Milfont, T. L., & Fischer, R. (2010). Testing measurement invariance across groups: Applications in cross-cultural research. International Journal of psychological research. 3(1), 111-130.
OECD. (2017a). PISA 2015 Assessment and Analytical Framework: Science, Reading, Mathematic, Financial Literacy and Collaborative Problem Solving. Paris: OECD Publishing.
OECD. (2017b). PISA 2015 Database [Data file and code book]. Retrieved November 1, 2021 from https://www.oecd.org/pisa/data/2015database/
Preacher, K. J., & Coffman, D. L. (2006). Computing power and minimum sample size for RMSEA [Computer software]. http://quantpsy.org
Sarason, S. B., Davidson, K. S., Lighthall, F. F., Waite, R. R., & Ruebush, B. K. (1960). Anxiety in elementary school children: A report of research.
Torrano, R., Ortigosa, J. M., Riquelme, A., Méndez, F. J., & López-Pina, J. A. (2020). Test anxiety in adolescent students: different responses according to the components of anxiety as a function of sociodemographic and academic variables. Frontiers in Psychology. 11, 612270.
Von Der Embse, N., Barterian, J., & Segool, N. (2013). Test anxiety interventions for children and adolescents: A systematic review of treatment studies from 2000–2010. Psychology in the Schools. 50(1), 57-71.