ปัจจัยการบริหารการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของ พนักงานสหกรณ์โคนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงาน 2) องค์ประกอบการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของพนักงาน 3) องค์ประกอบของคุณภาพชีวิตของพนักงาน และ 4) ปัจจัยการบริหารการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานสหกรณ์โคนม โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์เส้นทาง
ผลการวิจัย พบว่า
- องค์ประกอบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงานสหกรณ์โคนม มีองค์ประกอบเรียงตามค่าน้ำหนัก ได้แก่ 1) ด้านการบูรณาการทางสังคม 2) ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคง 3) ด้านสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและไม่ทำลายสุขภาพ 4) ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว และ 5) ด้านค่าตอบแทน
2.องค์ประกอบการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของพนักงานสหกรณ์โคนม มีองค์ประกอบเรียงตามค่าน้ำหนัก ได้แก่ 1) ด้านการมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหา 2) ด้านความเชื่อมั่นในธรรมชาติของมนุษย์ 3) ด้านการยอมรับและเห็นคุณค่าตนเอง และ 4) ด้านการรับรู้ การบริหารการเรียนรู้ และการมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง
3.องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของพนักงานสหกรณ์โคนม มีองค์ประกอบเรียงตามค่าน้ำหนัก ได้แก่ 1) ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ 2) สิ่งแวดล้อมที่ถูกลักษณะและปลอดภัย 3) เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถ 4) ลักษณะงานที่ส่งเสริมความเจริญเติบโตและความมั่นคง 5) ลักษณะงานที่ส่งเสริมด้านบูรณาการทางสังคมของผู้ปฏิบัติงาน 6) ลักษณะงานที่ตั้งอยู่บนฐานของกระบวนการยุติธรรม 7) ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน และ 8) ลักษณะงานที่สัมพันธ์กับสังคม
- 4. ปัจจัยการบริหารการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานสหกรณ์ ประกอบด้วย การส่งเสริมคุณภาพชีวิตส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานสหกรณ์โคนม รองลงมา คือ การส่งเสริมการพัฒนาตนเองส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานสหกรณ์โคนม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
ข้อความที่ปรากฎอยู่ในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
References
ชลกร ศิรวรรธนะ และทิพย์วัลย์ สุรินยา. (2556). การยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การมีส่วนร่วมในชุมชนกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเคหะชุมชนดินแดง กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 39(2), 80-94.
โชติรส ดำรงศานติ และวาสิตา บุญสาธร. (2553). ความสำคัญและการเสริมสร้างความรักและพลังขับเคลื่อนองค์การในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 54(3), 125-151.
ทศพร ณุวงศ์ศรี และกฤตกร นวกิจไพฑูรย์. (2564). ปัจจัยด้านระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานและการบริหารค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัทพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(3), 151-162.
ทักษิณา แสนเย็น และคณะ. (2565). ปัจจัยการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขที่ส่งผลคุณภาพชีวิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 395-409.
ประคอง รัศมีแก้ว. (2551). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปรียาวดี ผลเอนก และธนัฎฐ์ตฤณ บุนนาค. (2561). ศักยภาพของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นในการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(1), 56-65.
ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช และคณะ. (2563). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงาน ความพึงพอใจ ในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานห้องจัดแสดงรถยนต์และศูนย์บริการรถยนต์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารนักบริหาร, 40(2), 81-94.
พลกิจ จงวัชรสถิตย์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานฮอทไลน์(Hotline) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1, 2 และ 3 (ภาคกลาง). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พัชรพร ทองจันทนาม และภักดี โพธิ์สิงห์. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5 “การบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล: กฎหมาย ความเป็นธรรม และการกลับคืนสู่ประชาธิปไตย”. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พุทธรักษา พรมดี. (2564). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ส่วนกลาง) กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มานิตย์ สิงห์ทองชัย. (2557). การบูรณาการทุนทางสังคมกับการบริหารจัดการชุมชน: กรณีศึกษา ตำบลตลุกดู่อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557. (11-13 มิถุนายน หน้า 143-150). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สราวลี แซงแสวง. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความสมดุลของชีวิตในการทำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชั่น X และเจนเนอเรชั่น Y. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคมภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิริพร มูลเมือง. (2564). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 29-40.