ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ร่วมกับแผนผังความคิดที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ร่วมกับแผนผังความคิด 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนาขยาดวิทยาคาร อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 16 คนซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ร่วมกับแผนผังความคิด จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ร่วมกับแผนผังความคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติ Wilcoxon Signed-rank test ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ร่วมกับแผนผังความคิดมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ร่วมกับแผนผังความคิดอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
ข้อความที่ปรากฎอยู่ในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
References
ต่วนยามีลา อัลอิดรุส และคณะ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แบบฝึกตามแนวการจัดการเรียนรู้ของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
แวววัน มนูธาราม. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการสอนอ่านของเมอร์ด็อก (MIA) ร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรฒ.
วราภรณ์ พูลสวัสดิ์ และคณะ. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบ MIA เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุนารี เธียรธารณา. (2549). การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยวิธี MIA. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุมาลี เพชรคง. (2561). ผลการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อัจฉรา อินทร์น้อย. (2555). ผลการสอนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรี-นครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Murdoch, George S. (1986). “A More Integrated Approach to the Teaching of Reading”. English Teaching Forum, (34)(1): 9-15.
Widdowson, H. G. (1985). Teaching language as communication. London: Oxford University.