องค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชาชน ชุมชนคลองสำโรง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

จักรธร สุริแสง
สมเกียรติ สายธนู
ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนคลองสำโรง จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยในลักษณะของการผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กับวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ในเรื่องคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนคลองสำโรง จังหวัดสงขลา จำนวน 18 คน ตลอดจนการจัดเวทีชุมชนมีตัวแทนชาวบ้าน จำนวน 200 คน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนคลองสำโรง จากนั้นใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 คนกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรยามาเน่ สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิชนิดสัดส่วน (Proportionate Stratified Sampling) โดยใช้ฐานข้อมูลของชุมชน และใช้วิธีการจับสลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.929 ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชาชน ชุมชนคลองสำโรง จังหวัดสงขลา มี 5 องค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวชี้วัดทั้งหมดได้ร้อยละ 64.33 โดยองค์ประกอบที่ 1-5 มีค่าไอเกนเท่ากับ14.01, 6.72, 4.96, 4.09 และ 2.95 ตามลำดับ คือ 1) บทบาทของหน่วยงานภาครัฐและผู้นำชุมชน ชุมชนคลองสำโรง จังหวัดสงขลา มี 9 ตัวชี้วัด มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .858-.635 2) ไฟฟ้า ประปา และการจัดการ มี 7 ตัวชี้วัด มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .860-.657 3) ระบบเศรษฐกิจในชุมชนมี 6 ตัวชี้วัด มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .783-.694 4) บ้านพักอาศัย มี 7 ตัวชี้วัด มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .887-.581 และ 5) ระบบสาธารณูปการ มี 5 ตัวชี้วัด มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .807-.552 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย (2559). แนวทางการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนประจำปีงบประมาณ 2560. กรมการพัฒนาชุมชน.

เทศบาลเมืองเขารูปช้าง. (2564). ข้อมูลทั่วไป. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564 จาก: https://www. krc.go.th/ frontpage

ธนิดา ชี้รัตน์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี.

ปาณจิตร สุกุมาสย์. (2553). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย. Journal of Buddhist Education and Research: JBER. 7(2): 214-218.

มนตรี เกิดมีมูล. (2559). คุณภาพชีวิตคนไทย: กรณีศึกษาชาวเมือง. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 52(3): 129-154.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16. (2556). รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างบริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. 2556. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564 จาก http://slbkb.psu.ac.th

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด [Comparison of the WHO-QOL-100 and the WHOQOL-BREF (26 items)]. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต.

Flanagan, John. (1978, February). A Research Approach to Improving Our Quality of Life. American Psychologist, (33)(2): 138-147.

World Health Organization. (1997). Division of Mental Health and Prevention of Substance Abuse. Life Skills Education in Schools. Geneva: World Health Organization.