แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง

Main Article Content

ใหม่ พลเพชร
นวรัตน์ ไวชมภู

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 292 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก หาค่าความเชื่อมั่น ได้เท่ากับ .940 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNImodified ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุงโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.18, SD=0.63)  และสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.61, SD=0.63)  2. ความต้องการจำเป็นแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุงในภาพรวมมีค่า PNI modified= 0.09 โดยด้านการคัดกรองนักเรียนมีค่าดัชนี PNI modified เป็นลำดับแรก (PNI modified = 0.14) 3. แนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของครูที่ปรึกษา 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน ควรกำหนดเกณฑ์คัดกรองที่เป็นมาตรฐานและใช้วิธีอย่างหลากหลาย 3) ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ควรสนับสนุนนักเรียนทุกคนให้ได้รับการพัฒนาที่ครอบคลุมทุกด้าน 4) ด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหานักเรียน ควรสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และ 5) ด้านการส่งต่อนักเรียน ควรสร้างเครือข่ายการส่งต่อให้หลากหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ช่วยได้จริงหรือ? "ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน" ที่ทุกสถานศึกษาต้องมี. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1004915

เจตบดินทร์ บุญญรัตน์, สาโรจน์ เผ่าวงศากุล และนิพนธ์ วรรณเวช. (2565). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(4), หน้า 75-86.

ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือโดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึง ห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

พิชาพงศ์ นาภู และกฤษกนก ดวงชาทม. (2565). แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(2): 253-263.

รุ่งนภา สุขสำแดง. (2563). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาใน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

วุฒิพงษ์ พันทิวา. (2563). สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุนิสา มาสุข. (2560). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). ระบบช่วยเหลือนักเรียนนักเรียน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.