ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 2) ศึกษาคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 3) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม จำนวน 28 โรงเรียน โรงเรียนละ 6 คน รวมทั้งสิ้น 168 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการนิเทศผลการปฏิบัติงานของครู ด้านการกำหนดเป้าประสงค์ของโรงเรียน ด้านการจัดหาแหล่งทรัพยากร ที่จำเป็นให้ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ด้านการจัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการสอนของครู ด้านการสื่อสารให้ทุกคนทราบว่าโรงเรียนคาดหวังในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูง และด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ตามลำดับ 2. คุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม ด้านการมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ด้านความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย และด้านยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ตามลำดับ 3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
ข้อความที่ปรากฎอยู่ในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
References
กรองกาญจน์ อรุณเมฆ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2562). รายงานประจำปีของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2564). รายงานประจำปีของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
น้ำฝน รักษากลาง. (2558). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่2 ด้านผู้เรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พรนิภา คงเพ็ชรศักดิ์ และคณะ. (2565). จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุขฤทัย จันทร์ทรงกรด. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2562. นครปฐม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). การบริหารการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุธินี ศรีชน. (2564). การบริหารงานของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2559). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเชียเพรส (1989).
สุพล พรเพ็ง. (2562). การบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Cronbach, Lee J. (1974). Essentials of Psychology testing. 3rd ed. New York: Harper & Row Publishers.
Krejcie and Morgan. (1970). Determination Sample size for reserch activities. Education and Psycology Measurement, (30)(3): 607-610.