การศึกษาความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยปี 2567 ในโรงเรียนเอกชนจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

จินตา ประกอบ
อภิญญา สิริโรจนามณี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดของกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยปี 2567 (TCAS 67) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความเครียดสวนปรุงจำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.913 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนความเครียดอยู่ระหว่าง 20 - 89 คะแนน และมีคะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 45.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 14.01 นอกจากนั้นพบว่านักเรียนมีระดับความเครียดปานกลาง มากที่สุดร้อยละ 44.12 (25 – 42 คะแนน) รองลงมานักเรียนมีระดับความเครียดสูง ร้อยละ 40.92 (43 – 62 คะแนน) และที่สำคัญนักเรียนมีระดับความเครียดสูงมาก ร้อยละ 11.03 (มากกว่า 62 คะแนน) และ น้อยที่สุดคือ นักเรียนมีระดับความเครียดน้อย ร้อยละ 3.91 (0 - 23 คะแนน)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2541). บริการสุขภาพจิตมุ่งชีวิตเป็นสุข. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิตกระทรวง สาธารณสุข.

กีรติ ผลิรัตน์ และณัทธร พิทยรัตน์เสถียร. (2558). ความเครียดของนักเรียนมัธยมปลายในกรุงเทพมหานครที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย. วารสารเวชศาสตร์ร่วมสมัย, 59(4): 445–455.

จันทรา อุ้ยเอ้ง และวรรณกร พลพิชัย. (2561). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของ นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. รายงานการวิจัย. (คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

นันทิพย์ หาสิน และคณะ. (2558). ความเครียดและการปรับตัวของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปรทัศน์, 31(3): 94-101.

ปัญญภรณ์ ธนกรนุวัฒน์. (2665). ความเครียดของกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยปี 2566 (TCAS 66). Journal of Institute of Trainer Monk Development, 5(4): 52-29.

ปัทมา อินทร์พรหม (2548). ความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต. คณะแพทย์ศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒนฉัตร วิสิเขตต์การณ์ และมฤษฎ์ แก้วจินดา, (2562). โปรแกรมการศึกษาต่อและอาชีพที่มีผลต่อความวิตกกังวลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(1): 183-191.

ภัณฑิรา เดชบวรเกียรติ. (2561). ความเครียดด้านการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปทุมวัน. การวิจัยรายบุคคล ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดรกุล และคณะ. (2540). การสร้างแบบวัดความเครียด สวนปรุง โรงพยาบาลสวนปรุง. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

สุภาภัทร ทนเถื่อน. (2553). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. สารนิพนธ์หลักสูตรหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.