รูปแบบการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • จรัญ น้อยพรหม หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • มาลี ไชยเสนา สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • สมาน อัศวภูมิ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารงานบุคคล, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การวิจัย ครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลที่พัฒนาขึ้น โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล จำนวน 99 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ จำนวน 7 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลพัฒนาขึ้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ จำนวน 15 คน และกลุ่มผู้ทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินรูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1.)สภาพการบริหารงานบุคคล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2.)รูปแบบการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิผล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 23 องค์ประกอบย่อย มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3.) ผลการประเมินรูปแบบพบว่า รูปแบบการบริหารงานบุคคลที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผล   ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้านและกลุ่มผู้ทดลองใช้รูปแบบมีความพึงพอใจต่อรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชัชภูมิ สีชมพู. (2548). รูปแบบการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เทอดชาติ ชัยพงษ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). “รูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบ,” เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสัมมนาการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สมเกียรติ บุญรอด. (2550). การพัฒนารูปแบบการประเมินการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมาน อัศวภูมิ. (2537). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_________. (2550). การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำราญ หงส์กลาง. (2547). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคลากรของวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อุทุมพร จามรมาน. (2541, มีนาคม). โมเดลคืออะไร. วารสารวิชาการ. 1(2) : 22 - 26.

Keeves, P. J. 1988. Educational Research, Methodology, and Measurement : An International Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Willer, D. 1986. Scientific Sociology: Theory and Method. New Jersy: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-25