การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อนำเทคโนโลยีและเครือข่ายที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีตามแนวคิดการบริหารจัดการ

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ พรหมดวง คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • วิรัช วิรัชนิภาวรรณ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ, การนำเทคโนโลยีและเครือข่ายที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดเก็บภาษี, เทศบาลในจังหวัดปทุมธานี, แนวคิดการบริหารจัดการยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาปัญหา แนวทางการ ตัวแบบของแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อนำเทคโนโลยีและเครือข่ายที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีตามแนวคิดการบริหารจัดการยุคดิจิทัลและเพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมีความสัมพันธ์ต่อการนำเทคโนโลยีและเครือข่ายที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีตามแนวคิดการบริหารจัดการยุคดิจิทัล การวิจัยในครั้งนี้ผู้ออกแบบใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คนประชากร คือ ประชาชนเป้าหมายทั้งหมดในเขตพื้นที่เทศบาลเมือง จำนวน 9 แห่งของจังหวัดปทุมธานี ส่วนกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนดังกล่าว จำนวน 1,108 คน ซึ่งได้มาจากสูตรการหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน่ การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2561 เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้จำนวน 1,108 ชุด/คน และเก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืนมาได้ 1,004 คน คิดเป็นร้อยละ 90.61 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,108 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สรุปผลการวิจัย พบว่า ปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวแบบของแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมีความสัมพันธ์ต่อการนำเทคโนโลยีและเครือข่ายที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีตามแนวคิดการบริหารจัดการยุคดิจิทัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

นันทพร สุริยกุล ณ อยุธยา และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ, 2560) "การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการ จัดเก็บขยะของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี" วารสารสมาคมนักวิจัย. 22(2)

เบญจมาศ อินทราเวช และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). “การบริหารจัดการด้านการอำนวยความสะดวกและให้บริการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 6(3) หน้า 173-182.

ปรีชา คฤหวาณิช และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560). “ศักยภาพในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยี อีสเทิร์น) 14) 1 หน้า 234-248.

พระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2561 จาก http://www.krabicity.go.th/krabi/images/dataweb/low/prb.pdf

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2561). “การบริหารจัดการเพื่อนำเทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการประชาชนของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการยุคดิจัล”.วารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยฟาฏอนี . 25 (13).

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ.(2561). การบริหารจัดการยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560) บทความวิจัย “ศักยภาพในการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยเพื่อให้บริการประชาชนของเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิด PANT-ITERMS”. วารสารมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 14(1) หน้า 108-121.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560). “ศักยภาพในการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยเพื่อให้บริการประชาชนของเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิด PANT-ITERMS” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการ จัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น (14) 1 หน้า 108-121.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). 50 แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการ และการบริหารจัดการที่ยั่งยืน.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์โฟรเพซ.

สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย (2560) "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านทั่ว ประเทศและรายจังหวัด .สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย.

สมพร ประทุมมาลย์, สุรางค์ เมรานนท์ และอนงค์ อนันตริยเวช. (2552). “การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาล จังหวัดสระบุรี สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวง มหาดไทย”. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ใน

อำนวย บุญรัตนไมตรี นิพนธ์ ไตรสรณะกุล (2558) การบริหารงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีการ บริหารเทศบาลตามมาตรฐานการจัดทำบริการสาธารณะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน. วารสารมนุษย์สังคมปริทัศน์ (17) 2 หน้า 93 – 108.

Boston,Jonathan., Martin, John. Pallot, June. and Walse, Pat. (1996). Public Management: The New Zealand Model. Auckland: Oxford University Press.

Bonnie K. Nastasi and Stephen L. Schensul. (2005). "Contributions of Qualitative Research to the Validity of Intervention Research", Journal of School Psychology, 43 (3) pp 177-195.

Ernest L. Cowles and Edward Nelson. (2015, pp. 13-34). An Introduction to Survey Research. New York: Business Expert Press, LLC.)

Greg Guest, Emily E. Namey, and Marilyn L. Mitchell. (2013, pp. 47). Collecting Qualitative Data: A Field Manual for Applied Research. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc

John W. Creswell and Vicki L. Plano Clark. (2011, pp. 174-175). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Second Edition. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.)

Patrick Biernacki and Dan Waldorf. (1981) "Snowball Sampling: Problems and Techniques of Chain Referral Sampling", Sociological Methods & Research, 10, (2) pp 141-163.)

Rowland Atkinson and John Flint. (2001). "Accessing Hidden and Hard-to-Reach Populations: Snowball Research Strategies", Social Research Update, Department of Sociology, University of Surrey, United Kingdom

Taro Yamane. (1967, p. 398). Elementary Sampling Theory.New Jersey: Prentice-Hall).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25