การกำหนดแนวทางพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการภายในของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในจังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อเตรียมเข้าสู่ตลาดการให้บริการในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

ผู้แต่ง

  • ภีม พรประเสริฐ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • อมรรัตน์ พรประเสริฐ สาขาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ปวิณญดา บุญรมย์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พัฒนาศักยภาพ, การจัดการภายใน, ผู้ประกอบการโลจิสติกส์

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในจังหวัดอำนาจเจริญโดยมีประชากรคือผู้ประกอบการทั้งหมดจำนวน 22 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินศักยภาพซึ่งแบ่งออกเป็นข้อคำถาม 3 ส่วน ผลการวิจัยพบว่า ในด้านโครงสร้างพื้นฐานองค์กร ผู้ประกอบการโลจิสติกส์มีศักยภาพมากที่สุดในปัจจัย อำนาจการตัดสินใจในการบริหาร   ลักษณะของผู้บริหาร   และ โครงสร้างการบริหาร ตามลำดับ ด้านการบริหารบุคลากร ผู้ประกอบการโลจิสติกส์มีศักยภาพมากที่สุดในปัจจัย การฝึกอบรม การสร้างความพอใจแก่พนักงาน และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามลำดับ   ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ผู้ประกอบการโลจิสติกส์มีศักยภาพมากที่สุดในปัจจัย การใช้สังคมออนไลน์ในการติดต่อลูกค้า การลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ การใช้ Software ช่วยในการบริหารจัดการองค์กร  ผู้ประกอบการโลจิสติกส์มีศักยภาพด้านการจัดซื้อในปัจจัย ขั้นตอนการจัดซื้อ ระบบควบคุมการขนส่งและการขนย้ายสินค้า และ การติดตามการส่งมอบ ตามลำดับ ความคิดเห็นของผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่เห็นว่า กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆของประเทศไทย ข้อตกลงระหว่างประเทศ และ การเข้ามาของผู้ประกอบการต่างชาติ เป็นอุปสรรคมากกว่าเป็นการสนับสนุนต่อการดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์

References

สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบีไทยจำกัด(มหาชน). 2559. เส้นทางเศรษฐกิจสายอาเซียน. กรุงเทพฯ : ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยจำกัด (มหาชน).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของไทยปี 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2558). CLMV ตลาดใหม่ของ SMEs ไทย. กรุงเทพ: กระทรวงพานิชย์.

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. 2558. โอกาสและผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อกระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพ : กระทรวงมหาดไทย.

ลภัสวัฒน์ ศุภผลกุลนันทร์. 2559. การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา. วารสารเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2559. 79 -90

สุภาพรรณ วัฒนาอุดมชัย. 2559. SMEs ไทยยุคใหม่กับการใช้เทคโนโลยีเพื่อก้าวทัน e-Commerce. กรุงเทพ : ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ธิดารัตน์ โชคสุชาติ. 2555. ศักยภาพของประเทศสมาชิกอาเซียนกับการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย. วารสารนักบริหาร ปีที่ 32 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม – กันยายน 2555. 26 -39.

เพ็ญแข แสงแก้ว. 2542. การวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Michael E. Porter. 2008. The Five Competitive Forces That Shape Strategy. Harvard: Business Review.

Yamane. T. 1973. Statistics: An introductory analysis. 3rd edition. New York : Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26