ผลการสร้างภาพลักษณ์องค์กรและอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาลผ่านงาน Open House ตามการรับรู้ของผู้ปกครองและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา กุลประฑีปัญญา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • สอาด มุ่งสิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • พิสมัย วงศ์สง่า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • นิพพาภัทร สินทรัพย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • ณัฐรินทร์ สกุลนิธิวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์องค์กร, อัตลักษณ์, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

ผลการสร้างภาพลักษณ์องค์กรและอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาลด้วยกิจกรรม Open House ตามการรับรู้ของผู้ปกครองและนักเรียนมัธยมศึกษา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรและอัตลักษณ์ของนักศึกษาพยาบาลก่อนกับหลังการเข้าร่วมกิจกรรม Open House วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และเพื่อประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมงาน  Open House กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองและนักเรียนที่มาร่วมงาน โดยการสุ่มอย่างเป็นระบบจำนวน 334 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์ ค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นครอนบาค แอลฟา 0.87 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบ T-Test Dependent สรุปผลการวิจัยดังนี้

กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 334 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ร้อยละ 94.9 สถานภาพ นักเรียน มากที่สุด ร้อยละ 99.40 มาจากจังหวัดอุบลราชธานีมากสุด ร้อยละ 63.17 รองลงมา คือ จังหวัดศรีสะเกษ คิดเป็นร้อยละ 20.96 การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จากทางอินเตอร์เน็ตมากที่สุดร้อยละ 23.31  และส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรม Open House

การประเมินก่อนเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ด้านภาพลักษณ์องค์กร ทุกข้อรายการอยู่ในระดับมาก โดยรู้สึกว่าวิทยาลัยพยาบาลผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  และวิทยาลัยฯมีหน้าที่ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด การประเมินหลังเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ด้านภาพลักษณ์องค์กร ทุกข้อรายการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยวิทยาลัยมีสถานที่สวยงาม น่าเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  และวิทยาลัยฯมีหน้าที่ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด โดยการประเมินภาพลักษณ์องค์กรก่อนและหลังการร่วมงานไม่แตกต่างกัน

การประเมินก่อนเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ด้านอัตลักษณ์นักศึกษา ทุกข้อรายการอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษาพยาบาลมีกริยามารยาทดี อ่อนน้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และพยาบาลทำงานตอบสนองชุมชน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด   การประเมินหลังเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ด้านอัตลักษณ์ ทุกข้อรายการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักศึกษาพยาบาลมีกริยามารยาทดี อ่อนน้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และรู้ว่าพยาบาลทำงานตอบสนองชุมชน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด โดยการประเมินอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการร่วมงานไม่แตกต่างกัน

References

กาญจนาภรณ์ บุญเกิด, อภิรดา สุทธิสานนท์ และรัชตา มิตรสมหวัง (2559).การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรและส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต กรณีศึกษาบริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2559)

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2556). ผลการประเมิน Open house คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2556.

จินตวีร์ เกษมศุข (มปป.) การสร้างภาพลักษณ์องค์กร. เอกสารประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง หมวดวิชางานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ธิติ รักชาติ .(2555) รูปแบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร:กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. วารสารราชพระนคร ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2555.

ปรีดา บุตรไชย และคณะ (2559). การประเมินผลโครงการเปิดเรือนเยือนนายเรือปี 2559 (RTNA Open house 2016). กองสถิติและวิจัยโครงเรียนนายเรือ.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ (มปป).การบริหารภาพลักษณ์ (Corporate Image & Brand Management).

รพีพรรณ ฉัตรเลิศยศ. (2556) CSR : กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์ขององค์การ. วารสารนักบริหาร ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556.

สุภัชณาน์ ศรีเอี่ยม.(2555) อัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิรน์เอเชีย.

สายสวาท เผ่าพงษ์ และคณะ(มปป.) อัตลักษณ์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. จ. นครราชสีมา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28