การศึกษาความเป็นไปได้ของความเสี่ยงจากการทำเหมืองแร่โพแทช ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความเป็นไปได้ของความเสี่ยงจากการทำเหมืองแร่โพแทชในประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเหมืองแร่โพแทชในประเทศไทยกำลังจะดำเนินการเปิดเหมืองในอีกไม่ช้าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บทความนี้เป็นการวิจารณ์เชิงเอกสารที่เรียนรู้ความเสี่ยงในอดีตที่เคยเกิดขึ้นกับเหมืองแร่โพแทชในหลายๆ แห่งในโลกนี้ เช่น ที่เมือง Carlsbad ในมลรัฐ New Mexico ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เมือง Saskatoon รัฐ Saskatchewan ในประเทศแคนาดา หรือ ในอีกหลายๆแห่งในยุโรป เช่น ประเทศเยอรมัน โปแลนด์ ยูเครน และรัสเซีย ซึ่งบางแห่งเคยดำเนินการเปิดเหมืองแร่โพแทชมายาวนานกว่า 100 ปี เหตุผลในการศึกษาครั้งนี้ก็เพราะว่าแหล่งแร่โพแทชในประเทศไทยเป็นแหล่งแร่ที่มีขนาดใหญ่และยังไม่เคยมีการทำเหมืองมาก่อนหลังจากถูกค้นพบโดยกรมทรัพยากรธรณีว่าเป็นแหล่งแร่ที่มีขนาดใหญ่ มีปริมาณสำรองมหาศาลตั้งแต่ปี 2516 เหมืองแร่โพแทชในโลกนี้มีหลายชนิด แต่ละชนิดเปิดเป็นเหมืองใต้ดิน (Underground Mining) ถือว่าเหมาะสม เนื่องจากแร่โพแทชเกิดเป็นชั้นๆ ใต้แอ่งที่ราบ ซึ่งแตกต่างจากเหมืองอุโมงค์ที่ทำตามแนวสายแร่ การทำเหมืองใต้ดินจะทำให้สามารถควบคุมการทำเหมืองและขุดแร่ได้ดีกว่า เพราะเก็บแร่ได้หมด ถึงแม้ว่าเนื้อแร่ที่สามารถทำได้มีประมาณร้อยละ 50 เพราะต้องทิ้งไว้เป็นเสาค้ำยัน อีกร้อยละ 50 แต่มนุษย์สามารถลงไปควบคุมด้วยตัวเอง และดีกว่าการทำเหมืองละลาย (Solution Mining) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เหมืองโพแทชที่ดำเนินการแบบเหมืองใต้ดินดูเหมือนว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมแต่จากผลการศึกษาพบว่า เหมืองเหล่านี้ก็ยังมีจุดอ่อนบางประการที่สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงที่สามารถเป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น การเกิดน้ำท่วมเหมือง การระเบิดของเหมืองในกรณีที่มีแก๊สหรือหินอัคนีแทรกในชั้นโพแทช การถล่มของเหมือง ซึ่งอาจเกิดจากแผ่นดินไหว เหตุการณ์เหล่านี้ หากไม่มีการตระหนักอาจเกิดขึ้นในประเทศไทย การเรียนรู้ความเสี่ยงและมีมาตรการป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิด จึงนับว่าเป็นสิ่งที่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความ
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้ามมิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลงานไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก่อน
References
Anon. 1992. "Easterhazy Replacement Approved." Phosphate & Potash No. 180: 13-16.
Duchrow, G. 1990. "The Production of Potash in East Germany." Glueckauf 126, 21/22: 1016-1033.
Garrett, D.E. 1996. Potash Deposits, Processing, Properties and Uses. London: Chapman and Hall.
Gessel. W. 1972. "Outbursts of Carbon Dioxide in Potash Mines." Earth Science 1: 235-239.
Hasegawa, H.S., Wetmiller, R.J., and Gendzwill, D.J. 1989. "Induced Seismicity in Mines in Canada: -An Overview." Pure and Applied Geophysics 129, 3/4: 431-438.
Hurtig, E., et. al. 1984. "Implications for Predicting Mining Tremors." In Zent Institution of Physic, pp. 351-369 Erdeasked, WI: DDR.
Knoll, P. 1990. "The Fluid-Induced Tectonic Rockburst of March 13, 1989 in the Werra. GDR. Potash District." In Rocks at Great Depth, pp. 1415-1424. Amstetdam: Balkema.
Kovtun, V., Sbizov, R., and Yeliseyev, V. 1991. "Problems, Experience, and Technology Improvement in Mining Multiple Bed Potash." In Kali '91, pp. 231-243. Amsterdam: Springer.
Prugger, F.F., and Prugger, A.F. 1991. "Water Problems in Saskatchewan Potash Mining." Canadian Institute of Mining Bulletin 84, 945: 58-66
Smith, R.C. 1988. "Conversion of a Flooded Potash Mine to Solution Mining." In Raw Materials, pp. 117-121. Phoenix, AZ: International Fertilizer Industry Association.
Suwanich, Parkorn. 1978. Potash Minerals in Northeastern Thailand. Bangkok: Economic Geology Division, Department of Mineral Resources. (in Thai).
ปกรณ์ สุวานิช 2521 แร่โปแตชภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย กรุงเทพมหานคร: กองเศรษฐธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี
Suwanich, Parkorn. 1983. "Potash and Rock Salt in Thailand." In Conference on Geology and Mineral Resources of Thailand, pp. 56-67. Bangkok: Department of Mineral Resources.
Suwanich, Parkorn. 1986. Potash and Rock Salt in Thailand. Bangkok: Economic Geology Division, Department of Mineral Resources.
Suwanich, Parkorn. 2007. Geology of Potash and Rock Salt Minerals in Thailand. Bangkok: Kampeewan. (in Thai).
ปกรณ์ สุวานิช 2550 ธรณีวิทยาแหล่งแร่โพแทช-เกลือหินของไทย กรุงเทพมหานคร: คัมภีร์วรรณ.
Suwanich, Parkorn. 2011. "A Comparative Study of Rock Formations Composed of Rock Salt and Potash Layers between Thailand and Lao PDR." University of the Thai Chamber of Commerce Journal 31, 4: 85-96. (in Thai).
ปกรณ์ สุวานิช 2554. "การศึกษาเปรียบเทียบหมวดหินที่ประกอบด้วยชั้นเกลือหินและโพแทชของประเทศไทยและลาว" วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 31, 4: 85-96
Suwanich, Parkorn. 2012. "Geological Map of Phutok Formation Improvement Explored from Potash and Rock Salt Drilled Holes, Topography and Outcrops on the Khorat Plateau." Khon Kean University Research Journal 17, 1: 58-70. (in Thai).
ปกรณ์ สุวานิช 2555 "การปรับปรุงแผนที่ธรณีวิทยาหมวดหอนภูทอกที่ได้จากหลุมเจาะสำรวจเกลือหินและโพแทชจากลักษณะภูมิประเทศและจากหินโผล่บนที่ราบสูงโคราช" วารสารวิจัย มข. 17, 1: 58-70
Thailand. Department of Mineral Resources. 2005. Risk Map of Earthquake in Thailand Bangkok: Department of Mineral Resources. (in Thai).
กรมทรัพยากรธรณี 2548 แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย กรุงเทพมหานคร: กรมทรัพยากรธรณี
Turner, R. 1984. "Brazil Readies New Potash Mine." Engineering and Mining Journal 185, 12: 50-51.
Zemskoff, A.N., and Smichnik, A.P. 1991. "Mechanism of Gas Generation in Potash Beds of the USSR Verkhnekamsk and Starobin Deposits." In Kali '91, pp. 65-76. Amsterdam: Springer.