พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ ชาวไทยและชาวต่างชาติในภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

ศันสนีย์ กระจ่างโฉม
กรวรรณ สังขกร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2) ศึกษาความต้องการการบริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และ 3) เสนอแนะแนวทางการตอบสนองความต้องการด้านการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบน แบ่งเป็นชาวไทย จำนวน 449 คน และชาวต่างชาติ จำนวน 643 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ศึกษาข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์และการบอกต่อ เดินทางท่องเที่ยวพร้อมครอบครัวและเพื่อน นิยมพักโรงแรมและรีสอร์ท ยกเว้น นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมักเช่าคอนโดมิเนียมอยู่ระยะยาว ส่วนใหญ่ท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ และชื่นชมธรรมชาติของภาคเหนือ กิจกรรมด้านสุขภาพที่นักท่องเที่ยวสนใจ ได้แก่ การนวด การทานอาหารพื้นเมืองและอาหารสุขภาพ สปา และอาบน้ำแร่ ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่มมาเป็นอันดับแรก นักท่องเที่ยวมีความต้องการด้านการบริการของบุคลากรที่มีความสุภาพ อ่อนน้อม เอาใจใส่ในการให้บริการ และการทำความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องมือทุกครั้งหลังให้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ สังขกร, และศันสนีย์ กระจ่างโฉม. (2561). การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการการบริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Tourist) ในพื้นที่ล้านนา 8 จังหวัด. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันวิจัยสังคม.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2558. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2560, จาก https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=479&filename=index

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). จากอดีตถึงปัจจุบัน: ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น – ไทย ไปมาหาสู่. TAT Review, 4(4), 45.

จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย. (2557). ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ: โอกาสใหม่ไทย เติบโตรับ AEC. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.itd.or.th/th/ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สู/

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคเนชั่น.

ชนิดา ทวีศรี. (2551). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism). สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2560, จาก https://www.l3nr.org/posts/166878

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ศูนย์วิชาการ.

Vanida Toonpirom. (2562, 4 มกราคม). Wellness Tourism ยุทธศาสตร์ใหม่การท่องเที่ยว. ผู้จัดการ 360 องศา. สืบค้นจาก https://gotomanager.com/content/wellness-tourism-ยุทธศาสตร์ใหม่การท่องเที่ยว/

ศศิพงศ์ บุญยงค์. (2558, กรกฎาคม). ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism). Horizon, 3(2), 48-49. สืบค้นจาก https://horizon.sti.or.th/node/5

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism). รายงานสภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว Tourism Economic Review, 3, 30-43.

Adams, T.B. (2003). The power of perceptions: Measuring wellness in a globally acceptable, philosophically consistent way. Retrieved November 6, 2019, from https://www.publishingindia.com/GetBrochure.aspx?query=UERGQnJvY2h1cmVzfC8xMzMxLnBkZnwvMTMzMS5wZGY=

Aktas, A., Aksu, A. A., & Cizel, B. (2007). Destination choice: An important satisfaction analysis. Quality and Quantity, 41(2), 265-273.

Amadeus. (2015). Future traveler tribes 2030: Understanding tomorrow's traveller. Retrieved November 25, 2019, from https://amadeus.com/documents/en/retail-travel-agencies/research-report/amadeus-future-traveller-tribes-2030-report.pdf

Cohen, E. (1979). A phenomenology of tourist experiences. Sociology, 13(2), 179-201.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Egel, J. F., Blackwell, R. D., & Miniard, P.W. (1993). Consumer behavior (7th ed.). Fort Worth, TX: The Dryden Press.

Global Wellness Institute. (2017). Global wellness economy monitor. Retrieved September 30, 2019, from https://globalwellnessinstitute.org/wp-content/uploads/2018/06/GWI_WellnessEconomyMonitor2017_FINALweb.pdf

Kaplan, S. (1995). The restorative benefits of nature: Toward an integrative framework. Journal of Environmental Psychology, 15(3), 169-182.

Kyle, G., & Chick, G. (2007). The social construction of a sense of place. Leisure Sciences, 29(3), 209-225.

Lehto, X.Y. (2013). Assessing the perceived restorative qualities of vacation destinations. Journal of Travel Research, 52(3), 325-339.

Murphy, P. E., & Enis, B.M. (1986). Classifying products strategically. Journal of Marketing, 50(3), 24-42.

Qu, H., Kim, L. H., & Im, H. H. (2011). A model of destination branding: Integrating the concepts of the branding and destination image. Tourism Management, 32(3), 465-476.

Schiffman, L.G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior (5th ed.). Englewood Cliff, NJ: Prentice-Hall.

Schiffman, L.G., & Kanuk, L. L. (2004). Consumer behavior (8th ed.). Englewood Cliff, NJ: Prentice-Hall.

Smith, M. (2013). Prevention is better than cure! the relationship between wellness and medical approaches to health. Retrieved October 1, 2019, from https://www.slideshare.net/CongresPreventieveWe/melani-smith-keynote-spreker-congres-preventieve-wellness

Tharakan, Y.G. (2012). Development of a health and wellness centre at Manipal - an Introspection. Journal of Hospitality Application and Research, 7(2), 52-66.