การเพิ่มประสิทธิภาพคอนกรีตบล็อกระบายอากาศในการต้านทานการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังอาคาร

Main Article Content

พิศาล คีรีวงก์
ปุณฑริก สกุลมีศักดิ์
พีรเดช นิยะสม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการต้านทานความร้อนของคอนกรีตบล็อคระบายอากาศและเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้งาน โดยคอนกรีตบล็อกระบายอากาศเป็นวัสดุผนังที่นิยมใช้กันเป็นจำนวนมากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ  เนื่องจากมีราคาถูก  สามารถหาซื้อได้ง่าย และไม่มีปัญหาในขั้นตอนการก่อสร้างเนื่องจากช่างมีความเคยชินในการทำงาน อีกทั้งยังสามารถทำงานได้เร็วเพราะมีขนาดใหญ่ ทำมาจากซีเมนต์ผสมทรายอัดเป็นก้อน โดยคอนกรีตบล็อกระบายอากาศนี้สามารถนำมาประยุกต์ปรับปรุงกรรมวิธีในการก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการต้านทานความร้อนผนังอาคารได้ โดยปรับเปลี่ยนวิธีการก่อบล็อกจากปกติจะก่อคอนกรีตบล็อกด้านแคบในแนวดิ่ง เปลี่ยนเป็นนำด้านกว้างของก้อนตั้งในแนวดิ่งแทน ทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติในการต้านทานความร้อนของผนังคอนกรีตบล็อกระบายอากาศกับผนังคอนกรีตบล็อก โดยทำการวัดอุณหภูมิผิวภายนอก อุณหภูมิผิวภายในและอุณหภูมิอากาศภายในกล่องทดลองเปรียบเทียบกับอุณหภูมิอากาศภายนอก  ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลาเดียวกันผนังที่ก่อด้วยคอนกรีตบล็อกระบายอากาศสามารถลดอุณหภูมิอากาศภายในกล่องทดลองได้ดีกว่าผนังคอนกรีตบล็อก โดยผนังคอนกรีตบล็อกระบายอากาศสามารถลดอุณหภูมิอากาศภายในกล่องทดลองได้ดีกว่าผนังคอนกรีตบล็อก 3.170C

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงพลังงาน.(2557). สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน.
[2] สุนทร บุญญาธิการ และอุษณีย์ มิ่งวิมล.(2542). การใช้ฉนวน. เอกสารเผยแพร่การอนุรักษ์พลังงานกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพมหานคร.
[3] สินีรัตน์ ภัทรธรรมกุล. (2537). ผลของมวลสารและสีของผนังต่อพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] กระทรวงพลังงาน.(2547) แนวทางการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและฉนวนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน. กรุงเทพมหานคร:กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน.
[5] ณัฐกานต์ เกษประทุม. (2543). พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังอาคารที่มีมวลสารมาก. วิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] สานนท์ บุญมี, (2550). การหารูปแบบของผนังภายนอกบ้านพักอาศัยที่เหมาะสม : การศึกษาเชิงทดลอง /. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,:ม.ป.ท.
[7] สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2564). บัญชีราคาวัสดุก่อสร้างและค่าแรงงาน : สำนักอำนวยการกลุ่มออกแบบและก่อสร้าง.