รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยโสธร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 139 Yasothon 1 Excellent Model ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยการปฏิบัติตามรูปแบบ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษา ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 โดยใช้ 139 Yasothon 1 Excellent Model กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 193 คน ครูวิชาการโรงเรียน 193 คน ศึกษานิเทศก์ 20 คน และประธานเครือข่ายคุณภาพการศึกษา 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แนวทางการพัฒนาคุณภาพตามรูปแบบ 139 Yasothon 1 Excellent Model 2) แบบสอบถามความคิดเห็น ระดับการรับรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการน ารูปแบบ 139 Yasothon 1 Excellent Model ไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน และสถิติอ้างอิงหาค่าสหสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยด้วยโปรแกรมส าเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบ 139 Yasothon 1 Excellent Model มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ยกเว้น รูปแบบ 139 Yasothon 1 Excellent Model เอื้อต่อผู้ปฏิบัติ ที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าเหมาะสมระดับมากแนว ทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามรูปแบบ 139 Yasothon 1 Excellent Model ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการและด้านการนิเทศการศึกษาโดยรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ทั้งสามด้าน 2. ปัจจัยการปฏิบัติด้านการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยการปฏิบัติด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยการปฏิบัติการนิเทศการศึกษาตามรูปแบบ 139 Yasothon 1 Excellent Model มีความสัมพันธ์กับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ (R= 0.935 ) มีค่า R2 = 0.874, Adj R2 = 0.872 แสดงว่า ปัจจัยการปฏิบัติด้านการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยการปฏิบัติ ด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยการปฏิบัติการนิเทศการศึกษา ตามรูปแบบ 139 Yasothon 1 Excellent Model ท านายได้ร้อยละ 87.20