การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดด้านการจัดการเรียนรู้ใน สถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนา ครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ และ 3) พัฒนาโปรแกรม พัฒนาครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ มีวิธีด าเนินการวิจัย และพัฒนา 3 ระยะ (Research and Development) โดยด าเนินการเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบ และตัวชี้วัดด้านการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเปูาหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ จ านวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาสังเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพ ที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนาครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้ช่วย จ านวน 64 คน โดยใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติทีใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ระยะที่ 3 พัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเปูาหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ จ านวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดด้านการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดชัยภูมิ พบว่า องค์ประกอบด้านการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 ตัวชี้วัด 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนาครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 2.1 สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่า สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.2 การวิเคราะห์ความส าคัญของความต้องการจ าเป็นในการพัฒนาครูผู้ช่วยด้านการจัด การเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ เรียงล าดับความต้องการจ าเป็นจากสูงสุดไปต่ าสุด คือ การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน (PNI=0.2967) การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ (PNI=0.2953) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ (PNI=0.2765) การรายงานผลการเรียนรู้ (PNI=0.2527) 2.3 วิธีการพัฒนาครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชัยภูมิ ที่ครูผู้ช่วยมีความเชื่อมั่นว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด 3 ล าดับแรก คือ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ การอบรม และการประชุมปฏิบัติการ 3. ผลการพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 3.1 องค์ประกอบของโปรแกรมพัฒนาครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ มีองค์ประกอบ 9 ส่วน 1) ที่มาและความส าคัญของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ ของโปรแกรม 3) เปูาหมาย 4) รูปแบบและวิธีการพัฒนา 5) โครงสร้างของโปรแกรม 6) เนื้อหา 7) แนวการจัดกิจกรรม 8) เทคนิคและเครื่องมือ และ 9) การประเมินผล 3.2 เนื้อหาของโปรแกรมพัฒนาครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 4 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ ชุดที่ 2 การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ชุดที่ 3 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ชุดที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้ ใช้เวลาในการพัฒนา 12 ชั่วโมง รูปแบบในการพัฒนาเน้นการสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้การท ากิจกรรมกลุ่ม และเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและยั่งยืน เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาสามารถน าไปเป็นหลักการในการพัฒนาตนเอง โดยสรุป โปรแกรมพัฒนาครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชัยภูมิ ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม มีเนื้อหาครอบคลุมด้านการจัดการเรียนรู้ของครูผู้ช่วย มีวิธีการ พัฒนาตนเอง และผู้เข้ารับการพัฒนาสามารถน าความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาผู้เรียนได้จริง จึงควรน าโปรแกรมนี้ไปใช้ในการพัฒนาครูผู้ช่วย ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิต่อไป