คุณลักษณะของผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่21 ของวิทยาลัยชุมชน สังกัดสถาบันวิทยาลัยชุมชน

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย จิตวารินทร์
  • ดร. ลภัสรดา เวียงคำ

คำสำคัญ:

วิทยาลัยชุมชน ;คุณลักษณะผู้บริหารวิทยาลัยชุมชน ;การศึกษาในศตวรรษที่21

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารวิทยาลัยชุมชน สังกัดสถาบันวิทยาลัยชุมชน 2) ศึกษาระดับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของวิทยาลัยชุมชนสังกัดสถาบันวิทยาลัยชุมชน และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21ของวิทยาลัยชุมชน สังกัดสถาบันวิทยาลัยชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และข้าราชการครูของวิทยาลัยชุมชน สังกัดสถาบันวิทยาลัยชุมชน จำนวน 170 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .974 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

     ผลการวิจัย พบว่า  1)  การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของวิทยาลัยชุมชน สถาบันวิทยาลัยชุมชน  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) คุณลักษณะของผู้บริหารวิทยาลัยชุมชน สังกัดสถาบันวิทยาลัยชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณ (R) มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับมากที่สุด (r = 0.881) หรือคิดเป็นร้อยละ 88.1 โดยคุณลักษณะของผู้บริหารด้านวิสัยทัศน์ (X1) ด้านความรู้ความสามารถทางการบริหาร (X2) และด้านมนุษยสัมพันธ์ (X5) สามารถพยากรณ์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (Y) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรทั้ง 3 ร่วมกันพยากรณ์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้ร้อยละ 77.6 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ 0.26 และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ  Y = 1.573+0.313X1-0.280X2+0.517X5 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน  Zr = 0.531Z1-0.448Z2+0.826Z5

References

กิ่งแก้ว ห้วยจันทร์. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในเขตอำเภอศรีราชา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชยาภรณ์ จันโท และหิรัญ ประสารการ. (2560.) การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาของ
สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 13(1) : 304-320.
ชลดา เหลืองประเสริฐ. (2560). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ชีวสาธน์ กิ่งแก้ว. (2561). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อขวัญในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ชุมพร ภามนตรี และเฉลย ภูมิพันธุ์. (2559). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ และความ
คาดหวังของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 13(63): 193-202.
ณัฐนันท์ แถวนาชุม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้บริหารกับการบริหารงานความร่วมมือของสถานศึกษาสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ทศพล ธีฆะพร และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.15 (พิเศษ) : 54-68.
บุญมา แพ่งศรีสาร. (2561). “คุณลักษณะผู้บริหารทางการศึกษาในยุคศตวรรษใหม่”. วารสาร มจร. นครน่านปริทรรศน์. 2(2) : 131-141.
ปทุมรัตน์ สีธูป. (2560). การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต).
นครสวรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
พรทิพย์ พลประเสริฐ และรชฏ สุวรรณกูฏ. (2560). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 2 . รายงานสืบเนื่องการ
ประชุมวิชาการ และนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 “นวัตกรรมสร้างสรรค์ ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ไทยแลนด์ 4.0”. สืบค้นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562, จาก
https://conference2017.reru.ac.th/wp-content/uploads/2017/10/EDU-113.pdf
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2557). เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์การศึกษาของวิทยาลัยชุมชนระยะ 5 ปี. 21 กุมภาพันธ์ 2557. ณ
โรงแรมเซนทารา หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.
โยธิน นิลคช. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. รายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ. สืบค้นวันที่ 5 มิถุนายน 2562, จาก
http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/1634
ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง วันที่ 4 ตุลาคม 2556.หน้า 65-67.
ราชกิจจานุเบกษา. (2558). พระราชบัญญัติวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2558. เล่ม 132 ตอนที่ 30 ก. วันที่ 10 เมษายน 2558.หน้า 1- 16.
วัฒนากร ต่อซอน. (2561). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศิริลักษณ์ มีจันโท. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ศุภมาส วิสัชนาม. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี :
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สดุดี จีระออน. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคประเทศไทย 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ชัยภูมิ : มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
สถาบันวิทยาลัยชุมชน. (2560). แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิทยาลัยชุมชน ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565). กรุงเทพมหานคร :สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สุรีรัตน์ โพธิ์เลีย. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี :
มหาวิทยาลัยบูรพา.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และทัสนี วงศ์ยืน. (2556). หน่วยที่ 5 อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ. ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน : คู่มือสมรรถนะทางการบริหาร. กรุงเทพ : สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่า
ตอบแทน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
Bellanca, J. และ Brandt, R. (2001). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. แปลจาก 21st Century skills : rethinking how students learn. โดย วรพจน์ วงศ์กิจ
รุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. กรุงเทพมหานคร: โอเพ่นเวิลด์ส.
Derek , A. P. (2014). Effective Principal Leadership Behavior : The Student Perspective. Retrieved 7 September 2019, from
https://scholarworks.lib.csusb.edu/etd/11
Hoy, K. Miskel and Miskel, G. Cecil. (2001). Educational Administration. (6th ed). Singapore : McGraw-Hill.
Interstate School Leaders Licensure Conortium. (2000). Standard for School Leaders. The Jossey BassReader on Educational Leadership. California : Jossey
Bass.
Janice E. G. (2018). The Relationship Between Principal Leadership Behavior and Student Achievement in Low Performing Schools. Retrieved 6 September 2019,
from https://scholarship.shu.edu/dissertations/2511.
Krejcie, V. Robert and Morgan, W. Daryle. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3) : 607-610.
Mine, S. (2019). Leadership behaviors of school principals in relation to teacher job satisfaction in north Cyprus. Procedia Social and Behavioral Sciences. 1(1) :
2855–2864.
Muasya P.M. (2018). Influence of Instructional Leadership Practices on Academic Performance in Public Secondary Schools in Machakos Country, Kenya.
Kenyatta University. Retrieved 7 September 2019, from https://pdfs.semanticscholar. org/ c7c8/8d3bb3bba5713a2cb49543b75fa99ac08be0.pdf

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29