การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ด้วยรูปแบบ UTTPAO Model ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ดร.กฤตย์ ไชยวงศ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยศึกษาจากประชากร จำนวน 68 คน ประกอบด้วย ข้าราชการครู พนักงานจ้าง และบุคลากรทางการศึกษา  ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ

            ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่ หลักกฎหมาย นิติธรรม (Ordinance : O) หลักความโปร่งใส (Transparency : T) และหลักการมีส่วนร่วม (Participation : P) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนหลักความรับผิดชอบ (Accountability : A) หลักคุณธรรม (True Morality : T) และหลักความคุ้มค่า มีประโยชน์ (Usefulness : U) อยู่ในระดับมาก สำหรับความคิดเห็นของข้าราชการครู ครูอัตราจ้างและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและตำแหน่ง ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ด้วยรูปแบบ UTTPAO  Model ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ ไม่แตกต่างกัน

References

กมลพรรณ พึ่งด้วง. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา. นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
คลังข่าวมหาดไทย. (2562). โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงมหาดไทย ประจำปี 2562.
สืบค้น วันที่ 29 กรกฎาคม 2562 จาก http://newskm.moi.go.th/
ทรงชัย นกขมิ้น. (2556). การพัฒนาท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษา องค์การ
บริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิภาพรรณ ผิวอ่อน. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม : วิทยาลัย
นวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2544). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน.
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์. (2561). แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น
(School-based Management for Local Development : SBMLD) ประจำปีการศึกษา 2562. อุตรดิตถ์ :
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์.
วรลักษณ์ วรรณกูล. (2559). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอบางปะหัน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสน
ศาสตร์. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .
กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
อรทัย ทวีระวงษ์. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนมทวน
จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. กาญจนบุรี :
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
Eni Eja, Alobo, (2014). Promoting the Culture of Democracy and Good Governance in Local
Government Councils in Nigeria: The Role of the Legislature. British Journal of Arts and Social
Sciences, Vol.18 No.1 (2014) : 19-38.
Likert, S. (1976). The Human Organization: Its management and value. New York : McGraw-Hill.

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29