การตัดสินใจซื้อ การตัดสินใจซื้อแป้งกล้วยทอดสำเร็จรูปของผู้ประกอบการขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กรวรรณ กรรณิการ์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ แป้งกล้วยทอดสำเร็จรูป ผู้ประกอบการขนาดย่อม จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการขนาดย่อมที่ตัดสินใจซื้อแป้งกล้วยทอดสำเร็จรูปในจังหวัดเชียงใหม่  ปัจจัยการผลิตของผู้ประกอบการขนาดย่อมที่ตัดสินใจซื้อแป้งกล้วยทอดสำเร็จรูปในจังหวัดเชียงใหม่  การตัดสินใจซื้อแป้งกล้วยทอดสำเร็จรูปของผู้ประกอบการขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่   ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจซื้อแป้งกล้วยทอดสำเร็จรูปของผู้ประกอบการขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่  ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตกับการตัดสินใจซื้อแป้งกล้วยทอดสำเร็จรูปของผู้ประกอบการขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มประชากร คือ ผู้ประกอบการขนาดย่อมจำนวน 328 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์

          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการขนาดย่อมส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี วุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รายได้ที่ขายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001 – 10,000 บาท ปริมาณการขายต่อวัน  10 – 20 หวีต่อวัน ทำเลที่ตั้งของร้าน คือ หน้าบ้าน   ปัจจัยการผลิต  พบว่า ผู้ประกอบการขนาดย่อมให้ความสำคัญระดับมาก ในด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัตถุดิบ และด้านการบริหารจัดการ   การตัดสินใจซื้อแป้งกล้วยทอดสำเร็จรูปของผู้ประกอบการขนาดย่อม คือ ตราเกื้อกูล เหตุผลในการซื้อคือ รสชาติอร่อย คุณสมบัติเด่นของแป้งกล้วยทอดสำเร็จรูปคือ มีความกรอบนาน แหล่งที่ซื้อ คือ ตลาด หรือร้านค้าปลีก ปริมาณที่ซื้อ คือ 10 – 20 กิโลกรัมต่อครั้ง ค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้ง คือ 1,000 – 2,000 บาท  ความถี่ในการซื้อต่อครั้ง คือ  1 – 2 สัปดาห์ ส่วนผสมที่ต้องการเพิ่ม คือ  มะพร้าวขูดขาวอบแห้ง กลิ่นหอมที่ต้องการ คือ  ไม่ปรุงแต่งกลิ่น   ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ที่ขายได้เฉลี่ยต่อเดือน และปริมาณการขายต่อวัน มีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติเด่นของแป้งกล้วยทอดสำเร็จรูปที่ต้องการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05   ปัจจัยการผลิตด้านบุคลากร ด้านวัตถุดิบ และ ด้านการบริหารจัดการมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2562) .การวางแผนบริหารจัดการองค์กร. สืบค้น , จาก https://bsc.dip.go.th/

กิตติมา คงโต. (2559) .ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ.วิทยาลัยชุมชนระนอง สถาบันวิทยาลัยชุมชนสำนักงานคณะกรรมการ

การอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

โชคชัย อาษาสนา.(2558) .การบริหารงาน 4M. สืบค้น 25 มิถุนายน 2563, จาก

https://www.gotoknow.org/posts/453488

ณัฐภัทร วัฒนถาวร. (2558) .ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารคลีนฟู๊ดของประชากรใน กรุงเทพมหานคร.

(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) .กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ธัชพงษ์ อภิรักษ์นันท์ชัย. (2557) .ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ของผู้บริโภคที่สนใจจะเป็น

ผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) .กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ปลายฟ้า หาญจริง . (2560) .ปัจจัยในการประกอบธุรกิจ 4M. สืบค้น 28 มิถุนายน 2563, จาก

http://hanjingg.blogspot.com

ปัญจพล อุยพานิชย์ . (2558) .ทัศนคติและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำนมถั่วเหลืองผสมข้าวโพดของ

ผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) .เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เปรมกมล หงษ์ยนต์ . (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า)

ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสยาม

พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางค์ผ่านเฟซบุ๊ก.

(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) .เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ภัทรดนัย พิริยะธนภัทร. (2558) .การศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยด้านเว็บไซต์

พระเครื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าหรือประมูลพระเครื่องออนไลน์ (E-COMMERCE).

(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) .กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ระบบสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2563) .กล้วยทอด. สืบค้น 12

มีนาคม 2563 , จาก http://kaset.psru.ac.th

วิภาดา เนียมรักษา. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารเพื่อบริโภคของนักท่องเที่ยวชาวไทยใน

ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม.(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) .กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีรพงษ์ ใจชื่น. (2559). กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการโรงแรม Boutique ซ้ำในอําเภอ

ท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) .ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ . (2563) . จังหวัดเชียงใหม่ . สืบค้น 12 มีนาคม 2563 , จาก http://www.chiangmai.go.th/

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29