ภาวะผู้นำกับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

Main Article Content

พระมหาสุพล อระมูล
บัวผัน ชัยวงศ์ษา
อติพร สายแวว
สืบสกุล บุญประสิทธิ์
นราพร นันโท
อภิชยา ทองกุล
ปัญญา ตรีเลิศพจน์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำกับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3  2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำกับการปฏิบัติ งานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราช ธานี เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการบริหารและ ขนาดโรงเรียน ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กจำนวน 107 คน ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดกลาง จำนวน 98 คน ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่  จำนวน 3 คน ข้าราชการครูสถานศึกษาขนาดเล็กจำนวน 545 คน ข้าราชการครูสถานศึกษาขนาดกลางจำนวน 1,301 คน  ข้าราชการครูสถานศึกษาขนาดใหญ่จำนวน 85 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน  1,931 คน ใช้แบบสอบถามประมาณคค่า 5 ระดับในการเก็บข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบ    ค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้ภาวะผู้นำกับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3  ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มาก 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำกับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นขนาดของโรงเรียนที่มีความแตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำกับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3  ในด้านจินตนาการ พบว่า ผู้บริหารควรเป็นผู้นำที่มีลักษณะของการเป็น ผู้ที่มีสติปัญญาอันเฉลียวฉลาด มีความรอบรู้ ตลอดจนเป็นผู้นำที่มีไหวพริบดีในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดแบบเดิมๆ เพื่อการพัฒนาสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ด้านความยืดหยุ่น พบว่า ผู้บริหารควรมีพฤติกรรมของความยืดหยุ่นผ่อนปรน สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมตามความเหมาะสมกับเวลาและสถานที่ เปิดโอกาสให้บุคลากรหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ด้านวิสัยทัศน์พบว่า ผู้บริหารควรมีทักษะในการสร้างวิสัยทัศน์ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา โดยสามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและบริบทของสถานศึกษาได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นนักแก้ปัญหาได้ดี ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ด้านแรงจูงใจ พบว่า ผู้นำที่มีศักยภาพจะต้องมีทักษะในด้านการพัฒนาภาวะผู้นำคือ มีทักษะในด้านความรู้ความสามารถในการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ทั้งนี้เพื่อเป็นกำลังใจที่สำคัญในสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพและเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม และด้านความไว้วางใจ พบว่า ผู้บริหารควรสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจให้กับคณะครูในการจัดการเรียนการสอนหรือแสดงความคิดเห็นในกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษาและผู้บริหารควรเปิดโอกาสและยอมรับความคิดเห็น ของบุคลากรในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ


คำสำคัญ: ภาวะผู้นำ; แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ; แรงจูงใจในการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย