การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ

Main Article Content

อิชยา กองไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการฟังและการพูดภาษาอังกฤษทุกระดับชั้น ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2563โดยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน โดยประเด็นที่มุ่งศึกษาได้แก่ 1) ลักษณะและปริมาณของงานวิจัย 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าขนาดอิทธิพลจากผลการวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นงานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา ที่เป็นวิทยานิพนธ์ในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนภายในประเทศที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ระหว่างปี พุทธศักราช 2553-2563ที่สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูล จำนวน 30 เรื่อง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ข้อมูลพื้นฐานของงานวิจัยทั้ง 30เรื่องที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏมีจำนวนงานวิจัยมากที่สุดและสาขาหลักสูตรและการสอนมีจำนวนงานวิจัยมากที่สุด รองลงมาคือสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ปีที่มีการทำการวิจัยมากที่สุดคือ ปีพ.ศ.2555รูปแบบที่ใช้ในการจัดการ เรียนการสอนมากที่สุดคือ การสอนภาษาอังกฤษโดยการสื่อสาร ระดับชั้นที่มีการทำการวิจัยมากที่สุดคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง มากที่สุดอยู่ในช่วงระหว่าง 10-20 ชั่วโมง การเลือกกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะใช้ประการศึกษาขนาดของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในช่วง 11-30คน แบบแผนที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุดคือ One Group Pretest-posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการทำการทดลองส่วนใหญ่เป็น แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบแสดงความคิดเห็น 2) เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อทักษการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ พบว่าค่าขนาดอิทธิพลของการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกันส่งผลทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ

Article Details

บท
บทความวิจัย