การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ เพื่อการปรับทัศนคติและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน ในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
จิรานุวัฒน์ เหมันต์ลำเต็ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน ฝึกสมาธิ และพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนการพับโอริกามิ โดยเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คณะครูและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านพันเสด็จนอก จำนวน 32 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับสลาก ได้นักเรียนจำนวน 1 ห้องเรียนจาก 3 ห้องเรียน เป็นนักเรียนชั้น ป.6/1 จำนวน 22 คน คณะครูจำนวน 8 คน และรองผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 2 คนเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI 2) แบบประเมินพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ Pre-Test และ Post-Test ผลการวิจัยพบว่า1) ผลการพับโอริกามิโดยการเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI สร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สร้างสมาธิและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิสูงขึ้นทุกคน โดยผู้เรียนแต่ละคนมีการพัฒนาโดยใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกัน 2) ผลการเปรียบเทียบการพับโอริกามิโดยการเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ก่อนและหลังเรียนพบว่าผู้เรียนมีสมาธิหลังเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนรู้ โดยค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ5.79 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.16 แสดงว่าการพับโอริกามิโดยการเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ทำให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์และมีสมาธิมากขึ้น ข้อเสนอแนะ 1) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นักเรียนใช้ศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถภาพปานกลางขึ้นไป และมีการต่อลำโพงและหูฟังให้กับนักเรียนด้วย 2) โทรศัพท์ที่นักเรียนใช้ศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรมีสรรถภาพปานกลางขึ้นไป เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานบทเรียน 3) ครูผู้สอนหรือผู้สนใจที่จะนำกิจกรรมโอริกามิไปบูรณาการกับการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน ควรทำความเข้าใจ กับแผนการจัดกิจกรรมโอริกามิให้ละเอียดเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนการสอน 4) ครูควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากเด็กแต่ลละคนมีการเรียนรู้ที่ต้องใช้ระยะเวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์

นนทบุรี