ผลกระทบของความสามารถในการบูรณาการการสื่อสารทางการตลาดที่ส่งผลต่อ ผลการดำเนินงานทางการตลาดของธุรกิจฟิตเนสเซ็นเตอร์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุระศักดิ์ วันริโก คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • อารีรัตน์ ปานศุภวัชร คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ประทานพร จันทร์อินทร์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความสามารถในการบูรณาการการสื่อสารทางการตลาด, ผลการดำเนินงานทางการตลาด, ธุรกิจฟิตเนสเซ็นเตอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถ
ในการบูรณาการการสื่อสารทางการตลาดกับผลการดำเนินงานทางการตลาดของธุรกิจฟิตเนสเซ็นเตอร์
ในประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ธุรกิจฟิตเนสเซ็นเตอร์ ในประเทศไทย จำนวน 400 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการบูรณาการสื่อสารทางการตลาด ด้านความเกี่ยวข้องกันของเครื่องมือสื่อสารทางการตลาด ด้านความสอดคล้องกันของสื่อออนไลน์และออฟไลน์ และ ด้านความสามารถในการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานทางการตลาดโดยรวมของธุรกิจ
ฟิตเนสเซ็นเตอร์ในประเทศไทย 2) ความสามารถในการบูรณาการการสื่อสารทางการตลาด ด้านความเกี่ยวข้องกันของเครื่องมือสื่อสารทางการตลาด และ ด้านความสามารถในการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง มีผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานทางการตลาดโดยรวม และ ความสามารถในการบูรณาการการสื่อสารทางการตลาด ด้านความสอดคล้องกันของสื่อออนไลน์และออฟไลน์ ไม่มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานทางการตลาดโดยรวมของธุรกิจ
ฟิตเนสเซ็นเตอร์ในประเทศไทย

Author Biographies

สุระศักดิ์ วันริโก, คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อารีรัตน์ ปานศุภวัชร, คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประทานพร จันทร์อินทร์, คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). บทวิเคราะห์ธุรกิจ พ.ศ.2563. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563 จากhttps://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201905.pdf.
จุฬารัตน์ ขันแก้ว. (2561). กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและผลการดำเนินงานทางการตลาดหลักฐาน
เชิงประจักษ์จากธุรกิจบริการในประเทศไทย. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 40(159), 1-32.
ธวัชชัย สุขสีดา. (2563). การสื่อสารการตลาดในธุรกิจบริการสุขภาพในยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563. จาก https://blog.dpu.ac.th/ajtonrak/index.php/2020/02/20/digitalcommunication/.
พีรธณัฏฐ์ อุดมผล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การส่งเสริมการขายกับผลการดำเนินงานทางการตลาดของธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2558). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: มาร์เก็ตติ้งมูฟ.
สลิตตา สาริบุตร. (2559). เอกสารประกอบการสอนเรื่อง การสื่อสารทางการตลาด. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Batra, R. & Keller, K. L. (2016). Integrating Marketing Communications: New Finding, New Lessons, and New Ideas. Journal of Marketing, 80(6), 122-145.
Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision marking. (4th ed.).
New York: John wiley & Sons.
Ebel, R. L. & Frisbie, D. A. (1986). Essentials of educational measurement.
(4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice - Hall.
Hinkle, D. E., William, W. & Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior
Sciences. (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.
Kotler, P. & Armstrong, G. (2018). Principles of Marketing. Hoboken: Pearson Higher
Education.
Luxton, S., Reid. M. & Mavondo, F. (2015). Integrated Marketing Communication Capability and Brand Performance. Journal of Advertising, 44(1), 37-46.
Voorveld, H. A., Neijens, P. C. & Smit, E. G. (2012). The Interacting Role of
Media Sequence and Product Involvement in Cross-Media Campaigns. Journal of
Marketing Communications, 18(3), 203-216.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper
and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29