ภาวะผู้นำ เชิงนโยบายของ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการขับเคลื่อนแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติ ในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา จังหวัดภูเก็ต นครศรีธรรมราช และเชียงราย

Main Article Content

SIRIRUK NITHAT-EK

บทคัดย่อ

งานศึกษาชิ้นนี้ตั้งอยู่บนคำถามการวิจัยที่ว่า ภาวะผู้นำเชิงนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติตามแนวทางการลดความเสี่ยงภัยควรมีลักษณะอย่างไร วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการแปลงนโยบายการจัดการภัยพิบัติไปสู่การปฏิบัติ และศึกษาบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดในมิติด้านภาวะผู้นำเชิงนโยบายผ่านการผลักดันนโยบายเข้าสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่จังหวัด ซึ่งจะนำไปสู่ข้อเสนอเกี่ยวกับบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการ โดยได้เลือกกรณีศึกษาสามกรณี ได้แก่ เหตุการณ์เรือล่มที่จังหวัดภูเก็ต เหตุการณ์วาตภัยปาบึกที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และเหตุการณ์สิบสามหมูป่าติดถ้ำที่จังหวัดเชียงราย งานศึกษานี้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพผ่านวิธีการศึกษาเอกสาร โดยวางแนวทางการศึกษาวิจัยตามกรอบการวิเคราะห์ภาวะผู้นำเชิงนโยบาย ของ Jeffrey S. Luke จากการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพของนโยบายได้ผูกความสัมพันธ์กับการสร้างแนวทางการบริหารจัดการที่เน้นการลดความเสี่ยงภัย การวางแผนและการปฏิบัติการในระดับพื้นที่เชิงบูรณาการ ทำให้ภาวะผู้นำเชิงนโยบายในระดับพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดจึงถูกคาดหวังคุณลักษณะดังกล่าวเพื่อสนับสนุนให้การขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการในระดับพื้นที่เกิดประสิทธิภาพ


 

Article Details

บท
Articles