เสรีนิยมใหม่ในคำพิพากษา : วิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองกลางคดีเพิกถอนคำสั่งอนุญาตก่อสร้างคอนโดมิเนียมหรู

Main Article Content

arithat bunthueng

บทคัดย่อ

ปฏิบัติการของเสรีนิยมใหม่ผ่านความร่วมมือของนายทุนและรัฐซึ่งมีกฎหมายรับรอง ไม่ว่าจะเป็นการแปลงสิทธิในที่ดินของรัฐหรือที่ดินสาธารณะให้นายทุนใช้ประโยชน์ หรือการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อสร้างสภาวะยกเว้นและเอื้อประโยชน์แก่นายทุน มีลักษณะชัดเจนและโจ่งแจ้ง ซึ่งแตกต่างไปจากคดีแอชตัน อโศกซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีความน่าสนใจ โดยเป็นความพยายามของนายทุนและรัฐที่มีลักษณะแยบยลและแยบคายกว่า บทความนี้จะทำการวิเคราะห์คำพิพากษาดังกล่าวโดยนำแนวคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ต่าง ๆ ไม่จำกัดแค่แวดวงนิติศาสตร์มาปรับใช้ มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์การต่อสู้ช่วงชิงวาทกรรมของตัวละครในคำพิพากษาในฐานะอุทาหรณ์ มากกว่าจะเป็นการวิเคราะห์วิจารณ์ผลคำพิพากษาโดยตรง และเป็นการศึกษาเชิงเอกสาร แสดงให้เห็นความพยายามของนายทุนในการร่วมมือกับรัฐในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจผ่าน
การใช้ “อำนาจรัฐ” หรือ “อำนาจมหาชน” และความพยายามในอ้างความถูกต้องของเนื้อหาและกระบวนการใช้อำนาจผ่านการช่วงชิงวาทกรรม “ความชอบด้วยกฎหมาย” โดยมุ่งหมายให้ตนชนะคดีและมีผลคำพิพากษาของศาลในการรับรองความชอบธรรมของปฏิบัติการเสรีนิยมใหม่ดังกล่าว


 

Article Details

บท
Articles

References

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 2-9.

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 9.

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 113-118.

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 133.

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 143.

Manfred B. Steger and Ravi K. Roy, เสรีนิยมใหม่ ความรู้ฉบับพกพา, แปลโดย วรพจน์ วงศ์จรุงกิจรุ่งเรือง (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ openworlds, 2559), 21.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช, ลัทธิทางการเมือง, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2519), 42.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 1 วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆ , (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2547), 45-46.

Pierre Manent, An Intellectual History of Liberalism, (Princeton: Princeton university press,1996)

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน, (กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อ่านกฎหมาย,2564), 30-31.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, ทุนนิยมคาสิโน เขตเศรษฐกิจพิเศษจีนกับการสร้างชายแดนเสรีนิยมใหม่ในลาว, (เชียงใหม่: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559), 27.

อาร์โนล เบรนน์โต, “ภูมิประวัติศาสตร์ของ ‘เสรีนิยมใหม่’ การคิดใหม่ถึงความหมายของฉลากทางวิชาการที่เปลี่ยนแปลงและขยัยเขยื้อนได้”,แปลโดย พิพัฒน์ พสุธารชาติ ใน พิพัฒน์ พสุธารชาติ (บก.), ฟูโกต์กับเสรีนิยมใหม่, (กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์, 2563), 41-103.

กนกนัย ถาวรพิณิช, “ฟูโกต์และแนวคิดเสรีนิยมแบบออร์โด,” ใน พิพัฒน์ พสุธารชาติ (บก.), เพิ่งอ้าง, 147-187.

เดวิด ฮาร์วี, ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่, แปลโดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ และคณะ (กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา, 2555), 33.

Manfred B. Steger and Ravi K. Roy, อ้างแล้ว, 50-95.

Noam Chomsky, “Neoliberalism and the Global Order, Excerpted from Profit Over People”, (1998), https://chomsky.info/profit01/ (accessed 15 March 2022)

วีระยุทร กาญจน์ชูฉัตร, “การเดินทางของเสรีนิยมใหม่ใน 3 ทวีป,”ใน พิพัฒน์ พสุธารชาติ (บก.), อ้างแล้ว,115-117.

David Harvey, The New Imperialism, (Oxford: Oxford University Press, 2003), 137-182.

Aihwa Ong, Neoliberalism As Exception: Mutations in Citizenship and Sovereignty (Durham: Duke University Press, 2006).

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, อ้างแล้ว, 27-31.

วิทยากร เชียงกูล, ปรัชญาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่ทุกคนควรรู้, (กรุงเทพฯ: สายธาร, 2548), 153.

พูนพล อาสนจินดา, ภูมิรัฐศาสต์ประเทศไทย, (เชียงใหม่: โรงพิมพ์ส่งเสริมธุรกิจ), 94-107.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช, อ้างแล้ว, 107.

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานของสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540, (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2543), 19-34.

นอร์แบ์โต บ๊อบบิโอ, เสรีนิยมกับประชาธิปไตย, แปลโดย เกษียร เตชะพีระ, (กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2558)

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, “คำประกาศแห่งเมืองแบล็กเบอร์ก: ความเคลื่อนไหวในแวดวงการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์อเมริกัน”,ใน รัฐศาสตร์แนววิพากษ์, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551), 313-370.

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, ความคิดทางการเมืองของ คาร์ล ชมิทท์: ความเป็นการเมือง, สภาวะสมัยใหม่ และเสรีประชาธิปไตย, (วิทยานิพนธ์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548), 66-67.

เดวิด ฮาร์วี, อ้างแล้วใน 15, 258-267. และ David Harvey, Cited in 19, 137-182.

เดวิด ฮาร์วี, อ้างแล้ว, 202-245.

ปกรณ์ นิลประพันธ์, “การพัฒนากฎหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ,” Public Law Net (เว็บไซต์),http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1903/ (สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565)

เดลินิวส์, https://www.dailynews.co.th/economic/354191/ (สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565)

Thaipublica, https://thaipublica.org/2014/03/privatization-5/ (สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565)

เดวิด ฮาร์วี, อ้างแล้ว, 258.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, อ้างแล้ว. 6.

ประชาไท, https://prachatai.com/journal/2020/04/87092 (สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565)

BBC NEWS ไทย, https://www.bbc.com/thai/thailand-43615768 (สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565)

ดูปัญหาและความติดขัดในการดำเนินโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ใน ประชาไท , https://www.prachachat.net/economy/news-348480 และ Greennews, https://greennews.agency/?p=14986 (สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565) เป็นต้น

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 4.

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 6.

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 9.

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 14.

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 20-21.

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 59-77.

ปิยบุตร แสงกนกกุล, ““สภาวะยกเว้น” ในความคิดของ Giorgio Agamben ”, ฟ้าเดียวกัน, ปีที่ 8, ฉบับที่ 1 (2553), 84-91.

ปิ่นแก้ว เหลืออร่ามศรี, อ้างแล้ว, 31.

Aihwa Ong, Cited, 3-5.

อนุสรณ์ อุณโณ, “อ่านเอาเรื่อง อ่าน Neoliberalism as Exception กับ Aihwa Ong”, สัมมนาภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาและศูนย์อาเซียนศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://www.youtube.com/watch?v=2AO7K91mxno (สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565)

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนสืบค้นไม่พบข้อบังคับ รฟม. ดังกล่าว ผ่านการสืบค้นออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือราชกิจจานุเบกษา

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 64.

ได้แก่ ที่ดินที่ใช้ประกอบธุรกิจเป็นห้างสินค้า ศูนย์การค้า ซุปเปอร์มาเก็ต ศูนย์แสดงสินค้า สวนสนุก โรงแรม อาคารสำนักงานสำหรับขายหรือเช่า พื้นที่ให้เช่า โรงมหรสพ โรงงานอุตสาหกรรม สถานีบริการเชื้อเพลิง สถาบันการศึกษาเอกชน คลังสินค้า สถานพยาบาลเอกชน สถานบริการ สถานบันเทิง สถาบันการเงิน หรือใช้เพื่อประกอบธุรกิจที่เรียกอย่างอื่นในลักษณะดังกล่าวข้าง เป็นต้น

ที่ดินที่ใช้ประกอบธุรกิจเป็นบ้านจัดสรร อพาร์ทเม้นท์ ทาวน์เฮาส์ หอพัก อาคารชุด อาคารพาณิชย์สำหรับขายหรือใช้เช่า หรือใช้เพื่อประกอบธุรกิจที่อยู่อาศัยที่เรียกอย่างอื่นในลักษณะดังกล่าวข้างต้น เป็นต้น

ที่ดินที่มีขนาดตั้งแต่ 200 ตารางวาขึ้นไป ที่ใช้ประกอบธุรกิจนอกเหนือธุรกิจขนาดใหญ่ หรือธุรกิจที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542, มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 137-139.

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564, 140-142.

Giorgio Agamben, State of exception, (Chicago: University of Chicago Press, 2005)

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, “การเดินทางครั้งใหม่ของนักรัฐศาสตร์ไทย: ศาสตราจารย์ ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช กับการศึกษารัฐและสังคมไทย” ใน รัฐศาสตร์แนววิพากษ์ อ้างแล้ว, 270-310.

ในฐานะที่รัฐไทยเป็นรัฐเสรีประชาธิปไตยในทางรูปแบบ (?) (หรือรัฐอำนาจนิยมในทางปฏิบัติ หรือไม่อย่างไร ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ไม่ผู้เขียนได้อภิปรายได้ที่นี้ เนื่องจากสลับซับซ้อนไปกว่าเนื้อหาของบทความ อย่างไรก็ตาม กรณีตัวอย่างการใช้อำนาจขององค์อธิปัตย์ในการสร้างเสรีนิยมใหม่ในฐานะสภาวะยกเว้นของออง รวมถึงการสะสมทุนโดยการพรากสิทธิของฮาร์วีย์ ล้วนเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในรัฐอำนาจนิยม เช่น จีน ลาวและประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)