ความสัมพันธ์ไทยกับอุซเบกิสถานในสามทศวรรษที่ผ่านมาและโอกาสข้างหน้า

Main Article Content

รุสตั้ม หวันสู
มาโนชญ์ อารีย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษานโยบายต่างประเทศของอุซเบกิสถาน ความสัมพันธ์ไทย-อุซเบกิสถานในช่วง 3 ทศวรรษ ในมิติการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และศึกษาโอกาสเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างไทยกับอุซเบกิสถาน มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis)  จากเอกสารชั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่าอุซเบกิสถานกำลังอยู่ในช่วงการปฏิรูปประเทศด้วยนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมและการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอุซเบกิสถานมีนโยบายต่างประเทศแบบสมดุลอย่างครอบคลุม ที่ถือแนวคิดปฏิบัตินิยม หลักการพหุภาคีนิยม และนโยบายต่างประเทศเชิงรุกในการแสดงบทบาทนำต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ ในความสัมพันธ์กับไทยยังมีอีกหลายมิติที่ต้องพัฒนา โดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุน ทั้งนี้มูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างไทยและอุซเบกิสถานยังมีค่อนข้างน้อย โดยมีอุปสรรคการค้าที่สำคัญ คือ การขาดแคลนข้อมูลด้านการค้าการลงทุน การไม่รู้จักกัน ต้นทุนการขนส่งที่สูงเนื่องจากอุซเบกิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ไทยและอุซเบกิสถานมีศักยภาพในการพัฒนาความสัมพันธ์ที่รอบด้านจากการที่อุซเบกิสถานตั้งอยู่ใจกลางของภูมิภาคเอเชียกลาง เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นตลาดใหม่ที่มีเสถียรภาพทางการเมือง ด้วยข้อจำกัดทางด้านการขนส่งทำให้เป็นประเทศที่เหมาะเข้าไปลงทุนมากกว่าการส่งออก ธุรกิจที่เป็นโอกาสของนักลงทุนชาวไทยได้แก่ธุรกิจพลังงาน เหล็ก ทองคำและฝ้าย การท่องเที่ยว การแปรรูปอาหารและผลผลิตทางการเกษตร สิ่งทอ การโรงแรมและฮาลาล

Article Details

บท
Articles
Author Biography

มาโนชญ์ อารีย์, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชารัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

References

กระทรวงการต่างประเทศ, “อุซเบกิสถาน,” https://www.mfa.go.th/th/country/UZ?page=5d5bcb3915e39c3060006816&menu=5d5bd3c715e39c306002a883 (สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2020).

กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา, เอกสารข้อมูลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อุซเบกิสถาน, (กรุงเทพฯ: กระทรวงการต่างประเทศ, 2021).

จักร จามิกรณ์, “อุซเบกิสถาน-เสือตัวใหม่แห่งภูมิภาคเอเชียกลาง,” มติชนออนไลน์ (เว็บไซต์), 27 เมษายน 2021, https://www.matichon.co.th/article/news_2689829 (สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2021).

ณรงค์ ศศิธร, “พลังงานในภูมิภาคเอเชียกลางกับประเทศไทย,” สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (มิถุนายน-กันยายน 2014), 81, https://www.tcithaijo.org/index.php/ndsijournal/article/download/38131/31629/ (สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2020).

ปาริชาติ โชคเกิด, การทูตพหุภาคีของจีนตอรัสเซียและเอเชียกลาง (1996 - 2008): จากกรอบขอตกลงเซี่ยงไฮ 5 สูองคการความรวมมือแหงเซี่ยงไฮ้, (ปริญญานิพนธ์ รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขา การระหวางประเทศและการทูต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2008).

มาโนชญ์ อารีย์, “ส่องโมเดลประชาธิปไตย ‘อุซเบกิสถานใหม่’ เส้นทางปฏิรูปการเมืองรากฐานเสถียรภาพ สู่การเลือกตั้งที่โปร่งใส,” The Standard (เว็บไซต์), https://thestandard.co/democrate-model-new-uzbekistan-politic-reform/ (สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2020).

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, “อุซเบกิสถาน,” https://globthailand.com/market/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99/ (สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2021).

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, (28 กรกฎาคม 2016). “รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน,” https://toi.boi.go.th/information/download/461 (สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2020).

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, (28 กรกฎาคม 2016). “รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน,” https://toi.boi.go.th/information/download/461 (สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2020). 1-8, 1-9, 3-4.

อารีฝีน ยามา, “ยุทธศาสตร์การต่างประเทศของไทยต่อตะวันออกกลางและโลกมุสลิม,” สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เว็บไซต์), http://www.ias.chula.ac.th/tag/muslim-studies-center/?navmenu=asiatrend&post=813 (สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2020).

BBC NEWS ไทย, https://www.bbc.com/thai/international-42990481 (สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2022).

The Wisdom, “SWOT Analysis คืออะไร วิธีใช้ให้ได้ผล (พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์),” https://thewisdom.co/content/what-is-swot-analysis/ (สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2022)

Amnesty International, “The Andijan Massacre Remembered,” https://www.amnesty.org/en/latest/news/2015/07/the-andijan-massacre-remembered/ (accessed 5 November 2020).

Asma Afsaruddin, "Islamic World," in William H. McNeill (ed.), Berkshire Encyclopedia of World History, (Massachusetts, Berkshire Publishing Group, 2016), 1395-1399.

BBC NEWS, https://www.bbc.com/news/world-asia-37218158 (accessed 20 November 2020).

BBC NEWS, https://www.bbc.com/news/world-asia-16218972 (accessed 5 November 2020).

Brookings, “Uzbekistan’s star appears in the credit rating universe,” https://www.brookings.edu/blog/future-development/2019/01/23/uzbekistans-star-appears-in-the-credit-rating-universe/ (accessed 5 March 2021).

The Central Election Commission of Uzbekistan, “Election Results,” https://elections.uz/en/lists/view/2198 (5 March 2021).

The Diplomat, “Bickering Emerges on Uzbekistan’s Political Science,” https://thediplomat.com/2019/10/bickering-emerges-on-uzbekistans-political-scene/ (accessed 20 November 2020).

Human Rights Watch, “Uzbekistan Events of 2017,” https://www.hrw.org/world-report/2018/country-chapters/Uzbekistan (accessed 5 November 2020).

The International Institute for the Strategic Studies (IISS), The Military Balance, (London: Routledge, 2021), 213.

Menashri, David (ed.), Central Asia Meets the Middle East, (London: Frank Cass Publishers, 1998), 123.

OSCE, “Uzbekistan presidential election marked by lack of genuine political alternatives, legal and organizational shortcomings persist, say OSCE/ODIHR observers,” https://www.osce.org/odihr/elections/uzbekistan/148161 (accessed 5 November 2020).

OSCE, “Republic of Uzbekistan,” https://www.osce.org/odihr/elections/uzbekistan/428687?download=true (accessed 20 November 2020).

Pew Research Center, “The World’s Muslims: Unity and Diversity,” https://www.pewforum.org/2012/08/09/the-worlds-muslims-unity-and-diversity-executive-summary/ (accessed 30 April 2021).

Pew Research, “Muslims and Islam: Key findings in the U.S. and around the world” https://www.pewresearch.org/fact-tank/2017/08/09/muslims-and-islam-key-findings-in-the-u-s-and-around-the-world/ (accessed 19 August 2020).

Alexander Sergunin and Valery Konyshev, “SWOT Analysis of U.S.–Russian Relations,” Russian Analytical Digest, No. 178. (11 January 2016), 2-5. https://www.researchgate.net/publication/291321407_SWOT_Analysis_of_US Russian_Relations (accessed 21 March 2022).

Dina Rome Spechler and Martin C. Spechler, “The foreign policy of Uzbekistan: sources, objectives and outcomes:1991–2009,” Central Asian Survey, Vol. 29, No. 2 (June 2010), 159, https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/02634937.2010.490679 (accessed 1 July 2020).

Uzbekistan-Geneva.ch, “Foreign Policy of Uzbekistan,” http://uzbekistan-geneva.ch/cooperation-with-international-organisations-93.html (accessed 2 July 2020).

The White House, “The United States and Uzbekistan: Launching a New Era of Strategic Partnership,” https://www.whitehouse.gov/briefings-statements/united-states-uzbekistan-launching-new-era-strategic-partnership/ (accessed 20 November 2020).

World Bank, “The World Bank in Uzbekistan,” https://www.worldbank.org/en/country/uzbekistan/overview#context (accessed 30 April 2021).

World Top Exports, “World’s Top Exports Cotton Exports by Country,” https://www.worldstopexports.com/cotton-exports-by-country/ (accessed 3 April 2021).

Worldometer, “Natural Gas Production by Country,” https://www.worldometers.info/gas/gas-production-by-country/ (accessed 13 March 2021).

World Population Review, “Muslim Majority Countries 2020,” https://worldpopulationreview.com/countries/muslim-majority-countries (accessed 3 November 2020).

XE, “International Exchange Rate,” https://xe.com/ (accessed 2 April 2021).