"จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช": พระมหากษัตริย์ผู้ทรงบทบาทของพระวิษณุ

Main Article Content

สุภาพร พลายเล็ก

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาที่มาของคติความเชื่อเรื่อง “พระมหากษัตริย์คืออวตารของพระวิษณุ” ซึ่งเป็นความเชื่อที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทยปัจจุบัน  และศึกษารูปแบบของคติความเชื่อดังกล่าวที่นำมาใช้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  นอกจากนั้นยังศึกษาบทบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่มีลักษณะสอดคล้องกับบทบาทของพระวิษณุ จนทำให้เกิดการยอมรับนับถือว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชคืออวตารของพระวิษณุ


ผลการศึกษาพบว่าคติความเชื่อเรื่อง  “พระมหากษัตริย์คือองค์อวตารของพระวิษณุ” เป็นคติความเชื่อเกี่ยวกับพระวิษณุซึ่งเกิดขึ้นในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูที่คนไทยยอมรับนับถือ สืบทอดและปรากฏคติความเชื่อนี้ในการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ตั้งแต่ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในพระราชพิธีต่างๆ ระหว่างที่ทรงครองราชย์ จนกระทั่งถึงในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ บทบาทที่ทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นอวตารของพระวิษณุ ก็คือ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนตลอดการครองราชย์ 70 ปี

Article Details

How to Cite
พลายเล็ก ส. (2017). "จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช": พระมหากษัตริย์ผู้ทรงบทบาทของพระวิษณุ. วรรณวิทัศน์, 17, 34–83. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2017.4
บท
บทความประจำฉบับ

References

ประติมากรรมประดับตกแต่งพระเมรุมาศ "ร.9". (4 มกราคม 2560). มติชน. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/news/415598

กรมศิลปากร. (2559). 70 สัมพัจฉร์ฉลองรัชธรรมราชา กวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

กระทรวงวัฒนธรรมและธนาคารออมสิน. (2559). พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลิอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.

กษัตริย์นักพัฒนา ยูเอ็นสดุดี "ในหลวง" ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล. (10 กรกฎาคม 2560). สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=7864

ความเป็นมาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง. (10 กรกฎาคม 2560). สืบค้นจาก http://www.royalrain.go.th/royalrain/m/royalinitiativeproject

โครงการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9. (10 กรกฎาคม 2560). สืบค้นจาก http://www.prdnorth.in.th/The_King/boatservice.php

จิตรกรรม "ฉากบังเพลิง" ศิลปะชั้นสูง รัชกาลที่ 9. (24 เมษายน 2560). มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_32528

บันทึกไว้ในภาพเขียน จิตรกรรมฉากบังเพลิงรัชกาลที่ 9. (18 มิถุนายน 2560). สยามรัฐ. สืบค้นจาก http://www.siamrath.co.th/n/17801

ประดับพระเมรุมาศ #ยิ่งดูยิ่งคิดถึง#. (10 กรกฎาคม 2560). ทีนิวส์. สืบค้นจาก http://www.tnews.co.th/contents/306762

ปราโมทย์ สกุลรักความสุข. (2554). ความเปรียบเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในวรรณคดียอพระเกียรติ สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สาขาวิชาภาษาไทย.

พระธรรมโกศาจารย์. (10 กรกฎาคม 2560). ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม. สืบค้นจาก http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=629&articlegroup_id=21

พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส. (10 กรกฎาคม 2560). สืบค้นจาก http://www.sa.ku.ac.th/king-spku/

พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (10 กรกฎาคม 2560). สืบค้นจาก http://www.cca.chula.ac.th/protocal/organization-individuals.html

พระบรมราโชวาท พระราชดำรัสเกี่ยวกับการศึกษา. (10 กรกฎาคม 2560). สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th/Content

พระบรมราโชวาท พระราชดำรัสเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม. (10 กรกฎาคม 2560). สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th/Content

พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุขของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. (10 กรกฎาคม 2560). สืบค้นจาก http://www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=152813&filename=prd

พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (2560). กษัตริย์นักพัฒนาแห่งโลก. กรุงเทพฯ: บันทึกสยาม.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (10 กรกฎาคม 2560). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรน้ำ. สืบค้นจาก http://web.ku.ac.th/king72/2542-09/res01_01.html

มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2554). มหากาพย์รามายณะของวาลมิกิฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุพร แสงทักษิณ. (2539). เครื่องเบญจราชกกุธภัฑณ์และเครื่องสูง. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

รอยยิ้มของพ่อ !! เสร็จแล้วพระวิษณุเทพ ถอดเค้าโครงจากพระพักตร์และรอยพระสรวลของในหลวง ร.9. (25 มีนาคม 2560). ทีนิวส์. สืบค้นจาก http://www.tnews.co.th/contents/306762

ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (10 กรกฎาคม 2560). กกุธภัณฑ์. สืบค้นจาก http://www.royin.go.th

แรงบันดาลใจจากพระองค์ท่าน รูปปั้นพระนารายณ์ประดับพระเมรุมาศฯ. (10 กรกฎาคม 2560). สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID

วิทย์ พิณคันเงิน. (2551). เครื่องราชภัณฑ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สถาบันไทยศึกษา, ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ และสาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). ร้อยมณีน้ำตา รำลึกพระมหากรุณาธิคุณฯ. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ และสาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). ครุฑ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2538). พระราชลัญจกร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

เหตุการณ์กันยายน เมื่อ 50 ปีมาแล้ว ขณะเสด็จฯ ณ เมลเบิร์น ออสเตรเลีย. (10 กรกฎาคม 2560). เจ้าพระยานิวส์. สืบค้นจาก http://www.chaoprayanews.com

Basham, A.L. (1956). The wander that was India. London: William Clower and Soms.

Dargens, Bruno. (2007). Mayamatam. Delhi: Indira Gandhi National Centre for the Arts and Motilal Banarsidass Publishers Pvt. Ltd.

Ganguli, Kisari Mohan. (2017) Mahabharata, accessed july 10. Available from http://www.sacred-texts.com/hin/m01/m01068.htm

Griѝth, Ralph T. H. (1896). The Hymns of the Rigveda. Benares: E.J. Lazarus and Co.

Hiriyanna, M. (2005). The Essentials of Indian Philosophy. Delhi: Motilal Banarsidass.

Lakoќ, George and Johnson, Mark. (1980). Metaphors We Live By. London: The university of Chicago press.

Macdonell A. A., Muller, F. Max and Oldenberg, H. (2011). The Golden Book of the Holy Vedas. Delhi: Vijay Goel English-Hindi Publisher.

Mani, Vettam. (1964). Puranic Encyclopaedia. Delhi: Motilal Banarsidass publishers.

Monier-Williams, Monier. (1875). Indian Wisdom. London: Wm. H. ALLEN.

Monier-Williams, Monier. (1979). Sanskrit-English Dictionary. London: Oxford University.

Monier-Williams, Monier. (1883). Religious Thought and Life in India. London: Johm Murray.

Narayana Suktam, accessed july 10, 2017. Available from https://sanskritdocuments.org/doc_vishhnu/narayana-sukta.html?lang=sa

Srimunilala Gupta. (1990). Srivisnu Purana. Gorakhapura: Gitapresa.