พินิจวาทศิลป์โน้มน้าวใจในมหาชาติคำหลวง

Main Article Content

นิพัทธ์ แย้มเดช

บทคัดย่อ

วาทศิลป์โน้มน้าวใจในมหาชาติคำหลวง เป็นกลวิธีสื่อสารของตัวละครที่ยกเหตุผลชักจูงให้ผู้รับสารคล้อยตามคำพูดของตน ผลการศึกษาวาทศิลป์โน้มน้าวใจของพระเวสสันดร พระนางมัทรี ชูชกและนางอมิตดา แสดงให้เห็นว่าวาทศิลป์โน้มน้าวใจที่สะท้อนจากบทสนทนาของตัวละครขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ใช้วาทศิลป์โน้มน้าวใจ  ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้ส่งสารเลือกใช้ภาษาสื่อสารโน้มน้าวใจด้วยวิธีการต่างๆ  วาทศิลป์ที่สะท้อนจากบทสนทนาของตัวละครมีจุดประสงค์ปลุกเร้าให้ผู้รับสารตอบสนอง ส่งผลให้ผู้รับสารเกิดปฏิกิริยาไปกับวาทศิลป์ของผู้ส่งสาร  กล่าวได้ว่า มหาชาติคำหลวงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวาทศิลป์โน้มน้าวใจที่สะท้อนจากบทสนทนาของตัวละครอย่างหลากหลาย สะท้อนให้เห็นถึงสำนวนภาษาที่คมคาย หนักแน่น มีความไพเราะซาบซึ้งใจ และมีการใช้ภาษาเปรียบเทียบน่าประทับใจ นอกจากนี้วาทศิลป์โน้มน้าวใจยังสะท้อนความมีไหวพริบ และความชาญฉลาดของตัวละครที่แก้ไขสถานการณ์ในยามวิกฤตได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
แย้มเดช น. (2017). พินิจวาทศิลป์โน้มน้าวใจในมหาชาติคำหลวง. วรรณวิทัศน์, 17, 291–322. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2017.12
บท
บทความประจำฉบับ

References

คงศักดิ์ เชื้อเหรียญทอง. (2556). ศึกษาศิลปะการดำเนินชีวิตของชูชกที่ปรากฏในเวสสันดรชาดก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

บุญทัน อานนโท (พาหา), พระมหา. (2540). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องเวสสสันดรชาดกศึกษาเฉพาะทานบารมี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ประเสริฐอักษรนิติ์, หลวง. (2544). พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยอยุธยา: มหาชาติคำหลวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2545). มิใช่เป็นเพียง "นางเอก" ภาพสะท้อนจากละครสู่ชีวิตจริง. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น.

วรรณพิมล อังคศิริสรรพ. (2541). สรรนิพนธ์จากมายคติ (Mythologies) ของโรล็องค์ บาร์ตส์: บทแปลและบทวิเคราะห์เชิงวาทศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์. (2552). วาทศิลป์ของพระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญในสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา: รายงานวิจัยเรื่อง Rhetoric of the King and the Notabilities in the Sukhothai and the Ayudhaya Period. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. (2540). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

Andersen, Kenneth E. (1972). Introduction to Communication Theory and Practice. New York: Cumming Publishing Company.

Gerini, G.E. (1976). The Thet Mahachat Ceremony. Bangkok: Thaiwatanapanich.