คำสอนและกลวิธีการสอนในเรื่องนางนพมาศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวรรณคดีเรื่องนางนพมาศ ในด้านกลวิธีการสอนและคำสอน รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบคำสอนในเรื่องนางนพมาศกับคำสอนในวรรณกรรมคำสอนเรื่องอื่น ผลการศึกษาพบว่า ในด้านกลวิธีการสอน เรื่องนางนพมาศใช้กลวิธีการสอนที่น่าสนใจ ได้แก่ การสอนแบบตรง การสอนแบบอุปมาลักษณะ และการสอนแบบนิทานอุทาหรณ์ โดยสร้างให้นางนพมาศเป็นต้นแบบพระสนมในอุดมคติทำหน้าที่เป็นผู้สอน ในด้านคำสอนพบว่าคำสอนในเรื่องนางนพมาศมิได้เป็นเพียงคำสอนหลักทางความประพฤติของสตรีผู้เป็นนางสนมกำนัล แต่ยังปรากฏคำสอนหลักปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับคนทั่วไปในสังคม และหลักในการรับราชการ ซึ่งตรงกับคำสอนเกี่ยวกับการรับราชการที่ปรากฏในคำสอนชาย หลักคำสอนเหล่านี้เป็นแนวทางความประพฤติที่สังคมไทยนิยมใช้สืบมาช้านาน โดยมุ่งให้เกิดความสุขความเจริญแก่ผู้ประพฤติตาม ดังปรากฏในวรรณคดีคำสอนเรื่องสำคัญหลายเรื่อง
Article Details
References
กุสุมา รักษมณี. (2525). นิทานอุทาหรณ์ในวรรณคดีสันสกฤต. นครปฐม: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เดชาดิศร, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2543). โคลงโลกนิติ. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2527). ปากได่และใบเรือ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.
นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). (2513). พระนคร: ศิลปาบรรณาคาร.
ทุคคตะสอนบุตร พาลีสอนน้อง พิเภกสอนเบญกาย และ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส. (2506). พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระศรีสัจญาณมุนี (สวน จิตตาสาโท) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส 15 มิถุนายน 2506. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
เรืองอุไร กุศลาลัย, ผู้รวบรวม แปล และเรียบเรียง (2535). สตรีในวรรณคดีพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ศยาม.
ลักษณา โตวิวัฒน์. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2556). นางนพมาศ: วรรณกรรมคำสอนสตรีที่ (อาจ) ถูกลืม. วารสารศิลปศาสตร์, 13(2), 27-39.
ศิลปากร, กรม. (2539). วรรณกรรมสมัยสุโขทัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (มีนาคม 2530). "นางนพมาศลอยกระทงในแผ่นดินพระนั่งเกล่า". ศิลปวัฒนธรรม, 8(5).
สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). (2545). ไม่มีนางนพมาศ ไม่มีลอยกระทงสมัยสุโขทัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มติชน.