เมื่อ "ตำรากับข้าวชาววัง" ออกสู่โลกกว้าง: กำเนิดและพัฒนาการของ "ตำรากับข้าวชาววัง" ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงการตั้งโรงเรียนสตรี

Main Article Content

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

บทคัดย่อ

ตำรากับข้าวชาววังที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรถือเป็นของใหม่ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ตำรากับข้าวเหล่านี้ได้บันทึกขั้นตอนและวิธีการทำกับข้าวชาววังไว้อย่างละเอียด เมื่อมีการพิมพ์จำหน่ายจึงได้รับความนิยมมากเพราะกับข้าวชาววังมีการสร้างสรรค์รายการอาหารที่วิจิตร ประณีตกว่าอาหารทั่วไป และภายหลังได้ถ่ายทอดออกมาสู่นอกวังดังที่เห็นในปัจจุบัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษากำเนิดและพัฒนาการของตำรากับข้าวชาววัง และการถ่ายทอดองค์ความรู้กับข้าวชาววังไปสู่นอกวัง ผลการศึกษาพบว่า “ตำรากับข้าวชาววัง” เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างความเป็น “อารยะ” ให้ทัดเทียมชาติตะวันตก สอดคล้องกับพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะทรงปรับปรุงและพัฒนาประเทศทุกด้านให้ทัดเทียมชาติตะวันตก รวมถึงในด้านวัฒนธรรมอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงต้นมีการบันทึกตำรากับข้าวชาววังอยู่จำนวนหนึ่ง ต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบการเขียนตำรากับข้าวของวังและบ้านขุนนางต่างๆ ด้วย ทำให้เห็นพัฒนาการการรวบรวมและถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องกับข้าวชาววังในรูปแบบตำราสมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการขยายพรมแดนของกับข้าวชาววังไปสู่นอกวังคือการตั้งโรงเรียนสตรีต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปิดวิชาการเรือนและเชิญเจ้านายสตรีรวมถึงชาววังมาเป็นครูผู้สอน ส่งผลให้ความรู้เรื่องกับข้าวชาววังขยายพรมแดนออกมาสู่นอกวังดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
เกษมผลกูล อ. (2017). เมื่อ "ตำรากับข้าวชาววัง" ออกสู่โลกกว้าง: กำเนิดและพัฒนาการของ "ตำรากับข้าวชาววัง" ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงการตั้งโรงเรียนสตรี. วรรณวิทัศน์, 17, 353–385. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2017.14
บท
บทความประจำฉบับ

References

กลีบ มหิธร, ท่านผู้หญิง. (2492). หนังสือกับข้าวสอนลูกหลาน กับ ผลไม้ ของว่าง และขนม. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ผู้แปล. (2545). ตำรากับข้าวฝรั่ง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิง.

ชัย เรืองศิลป์. (2541). ประวัติศาสตร์ไทยสมัย พ.ศ. 2352-2453 ด้านเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ดนัย ไชยโยธา. (2546). ประวัติศาสตร์ไทย: ยุคกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ตำรับอาหารจากวังมหานาค. (ม.ป.ป.). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ตำรับอาหารจากวังนางเลิ้ง. (ม.ป.ป.). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

นักเรียนดรุณีโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง. (2546X. ปะทานุกรมการทำของคาวหวานอย่างฝรั่งแลสยาม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

นางจ่าเนตร. (2506). ตำรากับข้าวชาววัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญธรรม.

นายทองพับ. (2557). พาชิมอาหารอร่อยตามรอยตำนานเก่า เล่าเรื่องจีนในไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพฯ.

เปลี่ยน ภาสกรวงศ์, ท่านผู้หญิง. (2557). ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ.

ผ.ถ้วยทอง. (2477). กุญแจห้องเครื่อง พ.ศ. 2474 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรุงเทพบรรณาคาร.

พีระ พนารัตน์. (2557). ตำราปรุงอาหารต่างๆ: เอกสารตัวเขียนว่าด้วยวัตถุดิบ เครื่องปรุง และการถนอมอาหาร, วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 31(2).

มาโนชย์ มูลทรัพย์. (2555). การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาของสตรีไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453). (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีระยุทธ ปีสาลี. (สิงหาคม 2558). แม่ค้าศักดินา: การปรับตัวสู่การประกอบอาชีพของเจ้านายสตรี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475. ศิลปวัฒนธรรม, 36(11).

สยามบรรณาคม. (2560). ค้นพบตำราอาหารของไทยที่เก่าแก่ที่สุด !!! ** ฉบับเพิ่มเติม จากตำรากับข้าวของหม่อมส้มจีน ร.ศ. 109.ิ (30 กันยายน 2560). สืบค้นจาก http://www.digitalrarebool.com

สุกัญญา สุจฉายา. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560). อาหารไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา. วารสารมนุษยศาสตร์, 24(2).

สุนทรี อาสะไวย์. (2544). กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววัง ก่อน พ.ศ. 2475. ศิลปวัฒนธรรม, 32(7).

หม่อมหญิงสุภา. (2492). กับข้าวพรทิพย์ เปนตำหรับจากห้องเจ้านายเสวยสบพระทัยมาแล้ว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จำเริญศึกษา.

หลานแม่ครัวหัวป่าก์ (จีบ บุนนาค). (2504). เทพีพิทยาเป็นตำราดอกไม้ขี้ผึ้ง เครื่องอบ ร่ำ และอาหาร. กรุงเทพฯ: บริษัทชุมนุมช่าง จำกัด.

หลานแม่ครัวหัวป่าก์ จ.จ.ร.. (2521). ตำรากับข้าวคาว-หวาน ทิพรส (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญกิจ.

Ingram, Jame C. (1971). Economic Change in Thailand 1850-1970. California: Stanford University Press.