บทคร่ำครวญในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่

Main Article Content

นพวรรณ งามรุ่งโรจน์
นิตยา แก้วคัลณา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาบทคร่ำครวญที่ปรากฏในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและความสำคัญของบทคร่ำครวญ ตลอดจนศึกษาแนวคิดที่สื่อผ่านบทคร่ำครวญในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ โดยขอบเขตของการศึกษาผู้วิจัยจะศึกษาเฉพาะผลงานของ อังคาร กัลยาณพงศ์  เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์  สุจิตต์ วงษ์เทศ  คมทวน คันธนู  แรคำ ประโดยคำ และไพวรินทร์ ขาวงาม  การเลือกผลงานของกวีดังกล่าวเพราะมีลักษณะเด่นด้านการสืบทอดบทคร่ำครวญจากอดีตและนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้าบริบททางสังคมและวัฒนธรรมแห่งยุคสมัย


ผลการวิจัยพบว่าลักษณะของบทคร่ำครวญในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่มีทั้งการเดินทางพลัดพรากจากถิ่นที่อยู่ การร่ำไห้ การรำลึกถึงอดีตอันแสนสุข การนำสิ่งที่พบเห็นมาเป็นสื่อในการคร่ำครวญ และการคร่ำครวญในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคม โดยมีพื้นฐานมาจากการคร่ำครวญของกวีในอดีต แต่กวีไทยสมัยใหม่ได้ขยายขอบเขตเนื้อหาของการคร่ำครวญในระดับปัจเจกบุคคลไปสู่สังคมโดยรวม ทั้งยังพบว่าบทคร่ำครวญใน กวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่มีความสำคัญเป็นสื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง และเป็นสื่อแสดงทัศนะของกวีที่มีต่อสังคม ธรรมชาติ และการเมือง ตลอดจนเอื้อให้กวีได้แสดงความสามารถทางการประพันธ์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจและเกิดจินตนาการร่วมรับรู้ความรู้สึกที่ซับซ้อนรวมถึงเข้าใจแนวคิดของกวีได้ดียิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
งามรุ่งโรจน์ น., & แก้วคัลณา น. (2017). บทคร่ำครวญในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่. วรรณวิทัศน์, 17, 386–415. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2017.15
บท
บทความประจำฉบับ

References

กุสุมา รักษมณี. (2549). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ.

คมทวน คันธนู. (2526). กำสรวลโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ศึกษิตสยาม.

คมทวน คันธนู. (2539). รุ้งสายอันรายสรวง. กรุงเทพฯ: บริษัท ต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด.

คทวน คันธนู. (2546). นาฎกรรมบนลานกว้าง (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิชาการ.

นิตยา แก้วคัลณา. (2555). บทพรรณนาในกวีนิพนธ์ไทย: ลีลา ความคิด และการสืบสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิตยา แก้วคัลณา. (2556). สืบสรรค์ขนบวรรณศิลป์: การสร้างสุนทรียภาพในกวีนิพนธ์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2526). จารึก ร.ศ.200. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยา.

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2529). กรุงเทพทวารวดี จารึกไว้ในปีที่ 200 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2531). ตากรุ้งเรืองโพยม. กรุงเทพฯ: ก.ไก่.

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2535). ข้างคลองคันนายาว กระบวนที่ 2. กรุงเทพฯซ ธรรมสาร.

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2554). ไม่รู้เลยว่ารัก. กรุงเทพฯ: เกี้ยว-เกล้า พิมพการ.

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, หม่อมหลวง. (2520). หัวเลี้ยวของวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

ประเทือง คล้ายสุบรรณ์. (2517). เพลงกล่อมเด็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์.

ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2538). ม้าก้านกล้วย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์.

ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2549). คือแรงใจและไฟฝัน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์.

ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2553). ณ ที่ซึ่งแม่โพสพเคยสถิต. กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์.

ยุค ศรีอาริยะ. (2541). มายาโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: โครงการวิถีทรรศน์.

แรคำ ประโดยคำ. (2533). ลานชเล. กรุงเทพฯ: บริษัท ต้นอ้อ จำกัด.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2536). ชีวิตวัฒนธรรมกับความเชื่อในสังคมไทย. ใน มองอนาคต: บทวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.

สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช. (2538). การพัฒนาเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมกับการแลกมาด้วยความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม. ใน โลกาภิวัฒน์กับสังคมเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2548). กลอนกัมปนาท. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.

สุจิตต์ วงศ์เทศ. (2524). เจ้าขุนทองไปปล้น: รวมบทกวีสยามของสุจิตต์ วงษ์เทศ 2516-2523. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2549). เจิมจันทร์กังสดาล ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณดคีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร พลายเล็ก. (2541). นิราศสมัยรัตนโกสินทร์: การสืบทอดขนบวรรณศิลป์จากพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, สาขาวิชาภาษาไทย.

อังคาร กัลยาณพงศ์. (2516). ลำนำภูกระดึง (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่). พระนคร: ศึกษิตสยาม.

อังคาร กัลยาณพงศ์. (2529). กวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2536). พลวัตของสังคม-วัฒนธรรมไทย: ความอยู่รอดหรือหายนะ. ใน มองอนาคต: บทวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2545). ศักยภาพในไทวิถี. กรุงเทพฯ: สถาบันวิถีทรรศน์.