กลวิธีทางภาษาในการอวยพรงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรส

Main Article Content

ทินวัฒน์ สร้อยกุดเรือ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาการอวยพรในงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรส โดยข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้จำกัดขอบเขตข้อมูลงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรสของคนเมืองโดยพิจารณาจากฉากและสถานที่ (Setting) ที่ใช้จัดงานเลี้ยงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ยูทูประหว่างปี พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2561 จำนวน 10 คลิป ผลการวิจัยพบกลวิธีทางภาษา 5 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำศัพท์ (Lexical Choices) การใช้การกล่าวอ้าง (Claiming) การใช้มูลบท (Presupposition) การใช้อุปลักษณ์ (Metaphor) และการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ (Rhetorical Question) กลวิธีทางภาษาดังกล่าวมีหน้าที่สื่อความ 4 ชุดความหมาย จากมากไปน้อยดังต่อไปนี้  ก) คุณสมบัติและรูปสมบัติที่ดีของคู่บ่าวสาวอันเป็นหลักประกันการมีใช้ชีวิตคู่ที่ดี ข) การให้ข้อคิดและคำแนะนำการใช้ชีวิตคู่ของผู้อวยพร ค) ผู้อวยพรเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนอวยพรคู่บ่าวสาว ง) การประสบความสำเร็จในชีวิตคู่ โดยมีชีวิตคู่ที่ดี มีความรัก ความอบอุ่น และยั่งยืน ทั้งนี้ผู้อวยพรเลือกใช้หรือไม่ใช้กลวิธีทางภาษาใดกลภาษาหนึ่ง หรือมีการใช้คำเดิมซ้ำ หรือคำในกลุ่มความหมายเดียวกัน การใช้ความเปรียบแทนการพูดหรือสื่อความโดยตรง ย่อมสื่อถึงความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คนในสังคมได้

Article Details

How to Cite
สร้อยกุดเรือ ท. (2019). กลวิธีทางภาษาในการอวยพรงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรส. วรรณวิทัศน์, 19(1), 107–135. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2019.4
บท
บทความประจำฉบับ

References

ขนิษฐา จิตชินะกุล (2552). ประเพณีแต่งงาน: ความเปลี่ยนแปลงบนเส้นทางธุรกิจ.กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมงานวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2557). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฉัตรวรุณ ต้นนะรัตน์. (2543). การพูดในชีวิตประจําาวัน (พิมพ์ครั้งที่ 16).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทินวัฒน์ สร้อยกุดเรือ. (2549). วิเคราะห์ภาษาประเมินค่าความรู้สึกคนไทยผ่านคำถวายพระพร.หกสิบปีกระเดื่องหล้าประเลงสรรค์. ใน หนังสือรวมบทความวิชาการภาษาไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (น.61–73). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธันนิกานต์ ชยันตราคม.(2556). การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ: การศึกษาประเพณีแต่งงานไทย.วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1), 89–98.

ปรางทิพย์ แย้มเพกา. (2514). ประเพณีการแต่งงานของไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต)มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

พชรดา เลิศบางพลัด. (2558). การกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมของพิธีแต่งงาน.(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พรทิพย์ พุกผาสุข (ธันวาคม 2547). มงคลหลากหลายในคำให้พรวันเกิด. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. 21, 86–96.

พิมพ์ฐดา วัจนวงศ์ปัญญา. (2549). วาทวิเคราะห์สารและความหมายของ ส.ค.ส. พระราชทาน. (วิทยานิพนธ์ สาขาวาทวิทยา) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2553). อุดมการณ์ความเป็นชายในวาทกรรมโฆษณาสินค้าและบริการสําาหรับผู้ชายในนิตยสารผู้ชาย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำเนียง มณีกาญจน์ และสมบัติ จำปาเงิน. (2542). ศิลปะและหลักการพูดในโอกาสต่างๆ:หลักนักพูด (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.

เสฐียรโกเศศ. (2532). แต่งงาน: ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต. กรุงเทพฯ: แม่คาผาง.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). ภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีวรรณ หัสดิน. (2558). สุนทรียะในประเพณีการแต่งงาน: การวิพากษ์แบบโพสต์โมเดิร์น.วารสารกระแสวัฒนธรรม, 16(29), 60–72.

Coffin, C., Lillis, T., & O’Halloran, k. (2010). Applied Linguistics Methods: A Reader. Oxon: Routledge.

Dunn, C.D. (2006). Formulaic Express, Chinese Proverbs, and Newspaper Edigional: Exploring Type and Token Interdiscursivity in Japanese WeddingSpeeches. Journal of Linguistic Anthropology. 12(2), 153–172.

Machin, D. and Mayr, A. (2012). How to Do Critical Discourse Analysis. London, California. Singapore, New Delhi: SAGE.

Porter, J. E. (1986). Intertextuality and the Discourse Community. Rhetoric Review. 5(1), 34–47.

Sroikudrua, T. (2017) “Construction of “Happiness” in Programmed Birthday Wishes: A Study in Accordance with Critical Discourse Analysis”. The 2017 Seoul International Conference on Social Sciences and Management-SICSSAM. (Oral Presentation). 7–9 February 2017. South Korea.

Van Dijk, T.A. (1995). Discourse semantics and ideology. Discourse & Society. SAGE: 6(2), 243–289.