นิทานคำกาพย์เรื่องศรีสุทัศน์สังหัสไชย: การศึกษาต้นฉบับ ลักษณะสหบท และคำสอน

Main Article Content

ณัฐา ค้ำชู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษานิทานคำกาพย์เรื่องศรีสุทัศน์สังหัสไชยจากต้นฉบับเอกสารโบราณ บันทึกไว้ในสมุดไทย ปัจจุบันต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติกรุงเทพมหานคร และศึกษาวิเคราะห์เนื้อเรื่องในด้านลักษณะสหบทและคำสอน ผลการวิจัยพบว่านิทานคำกาพย์เรื่องศรีสุทัศน์สังหัสไชยไม่ทราบชื่อผู้ประพันธ์และระยะเวลาที่ประพันธ์แน่นอน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะประพันธ์สำเร็จราวช่วงพุทธศักราช 2377 ถึง พุทธศักราช 2425 ประพันธ์ด้วยกาพย์ยานี กาพย์ฉบังกาพย์สุรางคนางค์ และคำประพันธ์กาพย์แต่ใช้ชื่อเรียกอื่นซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นคำที่ใช้บอกท่วงทำนองนิทานคำกาพย์เรื่องนี้มีลักษณะสหบท กล่าวคือ โครงเรื่องของศรีสุทัศน์สังหัสไชยคล้ายกับวรวงสชาดกซึ่งเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดก ส่วนเนื้อเรื่องนั้นกวีดัดแปลงอนุภาคหรือรายละเอียดของเหตุการณ์ในเรื่องให้แตกต่างไปจากวรวงสชาดก และกวียังได้นำอนุภาคเหตุการณ์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมหรือนิทานเรื่องอื่นที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีมาประสมประสาน นอกจากนี้ยังมีคุณค่าด้านคำสอนที่สอดคล้องตามหลักธรรมและแนวทางปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องกรรมและวิบาก ไตรลักษณ์ โลกธรรม ปัญญา และภาวนา และคำสอนที่เป็นหลักในการดำเนินชีวิต ได้แก่ คำสอนเรื่องความกตัญญู ความรักและการครองเรือน ความเพียร ความมีเมตตา และการให้อภัยการศึกษานิทานคำกาพย์เรื่องศรีสุทัศน์สังหัสไชยทำ ให้ประจักษ์ถึงความรอบรู้และความสามารถของกวีในการสร้างสรรค์นิทานที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินและทำให้ผู้อ่านเกิดปัญญา อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่นิทานเรื่องนี้ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางต่อไป

Article Details

How to Cite
ค้ำชู ณ. (2019). นิทานคำกาพย์เรื่องศรีสุทัศน์สังหัสไชย: การศึกษาต้นฉบับ ลักษณะสหบท และคำสอน. วรรณวิทัศน์, 19(2), 1–28. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2019.9
บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรชัยสุขุม. (2553). ลักษณะสหบทในนวนิยายเรื่อง “กรูกันออกมา” ของปริทรรศหุตางกูร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ณัฐาคํ้าชู. (2560). นิทานคํากาพยเรื่องศรีสุทัศน์สังหัสไชย: การศึกษาที่มาของเนื้อเรื่อง. ในรวมบทความวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 11 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในยุค Thailand 4.0 (น. 250–263). ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐาคํ้าชู. (2561). การปริวรรตและศึกษาวิเคราะห์นิทานคํากาพย์เรื่องศรีสุทัศน์สังหัสไชย (รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2547). วรรณกรรมประเภทกลอนสวดภาคกลาง: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2553). ด้วยแสงแห่งวรรณคดีเปรียบเทียบ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์วรรณคดีศึกษาคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทองคํายิ้มกําภู. (2500). ปฏิทิน 220 ปีเทียบสุริยคติและจันทรคติตั้งแต่ พ.ศ. 2325–2544. กรุงเทพฯ: เขษมบรรณกิจ.

ธีรา สุขสวัสดิ์ณอยุธยา. (มกราคม–มิถุนายน 2548). สัมพันธบท (Intertextuality) ในฐานะวิธีการหนึ่งของวรรณคดีวิจารณ์. มนุษยศาสตร์สาร, 6(1), 1–13.

นพพรประชากุล. (2552). สัมพันธบท. ในยอกอักษรย้อนความคิดเล่ม 1 ว่าด้วยวรรณกรรม (น. 329–336). กรุงเทพฯ: อ่านและวิภาษา.

นิตยาวรรณกิตร์. (2555). อนุภาคการกําเนิดเหนือธรรมชาติในชาดกตํานานและนิทานพื้นบ้าน. มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 19(2), 60–86.

นิยะดา เหล่าสุนทร. (2558). ปัญญาสชาดก: ประวัติและความสําคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ลายคํา.

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2523). “พระวรวงศ์” วรรณกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ปัญญาสชาดกฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่มหนึ่ง (พิมพ์ครั้งที่ 2). (2549). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

ปัญญาสชาดกฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่มสอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). (2549). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

พระธรรมกิตติวงศ์ [ทองดีสุรเตโช]. (2556). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสนาชุดคําวัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

พระพรหมคุณาภรณ์ [ป.อ.ปยุตฺโต]. (2559). พจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระศรีสุทัศน์ เล่ม 1. สมุดไทยขาว, อักษรไทย, ภาษาไทย, เส้นหมึก, เลขที่ 515.

พิเชฐ แสงทอง. (2555). Intertextuality จาก “ตัวบท” สู่ “สัมพันธบท”. สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 18(3), 261–270.

ศิราพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตํานาน – นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สหัสไชย เล่ม 2. สมุดไทยขาว, อักษรไทย, ภาษาไทย, เส้นหรดาล, เลขที่ 565.

สหัสไชย เล่ม 2. สมุดไทยขาว, อักษรไทย, ภาษาไทย, เส้นหมึก, เลขที่ 564.

สหัสไชย เล่ม 3. สมุดไทยขาว, อักษรไทย, ภาษาไทย, เส้นหมึก, เลขที่ 566.

สหัสไชย เล่ม 3. สมุดไทยขาวอักษรขอม – ไทยภาษาบาลี – ไทย, เส้นดินสอและเส้นหมึก, เลขที่ 516.

สายวรุณ น้อยนิมิตร. (2542). อรรถกถาชาดก: การศึกษาในฐานะวรรณคดีคําสอนของไทยและความสัมพันธ์กับวรรณคดีคําสอนเรื่องอื่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2554). พระวรวงศ์: วรรณกรรมท้องถิ่นที่แสดงร่องรอยความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างภาคตะวันออกภาคกลางและภาคใต้. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 103–131.