สำนวนไทยที่ใช้เฉพาะกับเพศชาย: ภาพสะท้อนสังคมไทย

Main Article Content

อำนาจ ปักษาสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดประเภทสำนวนไทยที่ใช้เฉพาะกับเพศชายตามวัยและศึกษาภาพสะท้อนสังคมไทยจากสำนวนเหล่านั้น ข้อมูลที่ใช้ศึกษามาจากสำนวนไทยที่ปรากฏในหนังสือ สำนวนไทย ของ สง่า กาญจนาคพันธ์ (2543) และหนังสือ ภาษิต คำพังเพย และสำนวนไทย ของ ราชบัณฑิตยสถาน (2551) ผลการศึกษาพบว่าสำนวนไทยที่ใช้เฉพาะกับเพศชายนั้นสามารถจัดแบ่งการใช้ตามวัยได้เป็นสำนวนที่ใช้กับเพศชายวัยสูงอายุ สำนวนที่ใช้กับเพศชายวัยหนุ่ม และสำนวนที่ใช้กับเพศชายแบบไม่จำกัดวัย สำหรับภาพสะท้อนสังคมไทยจากสำนวนไทยที่ใช้กับเพศชายพบว่าสำนวนไทยที่ใช้กับเพศชายสะท้อนวัฒนธรรมประเพณี ความคิด และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ชายในสังคมไทย ได้แก่ ประเพณีการบวช พฤติกรรมที่พึงประสงค์ และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ชายในสังคมไทย

Article Details

How to Cite
ปักษาสุข อ. (2019). สำนวนไทยที่ใช้เฉพาะกับเพศชาย: ภาพสะท้อนสังคมไทย. วรรณวิทัศน์, 19(2), 87–103. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2019.12
บท
บทความวิจัย

References

ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา. (2537). การเปลี่ยนแปลงถ้อยคำและความหมายของสำนวนไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาศรี สีหอำไพ. (2538). วัฒนธรรมทางภาษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมวโรดม. (2545). คู่มือพระอุปัชฌาย์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการดำเนินการฝึกซ้อมอบรมพระอุปัชฌาย์ส่วนกลาง.

พระสมชาย ฐานวุฑฺโฒ. (2541). มงคลชีวิต ฉบับธรรมทายาท (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์.

พุทธทาสภิกขุ. (2529). บวชทำไม. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

เพ็ญแข วัจนสุนทร. (2522). ค่านิยมในสำนวนไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิทยากร.

รังรอง นิลประภัสสร. (พฤศจิกายน 2545). คติธรรมในกลอนสุภาษิต: คุณค่าที่ไม่เคยล้าสมัย. วารสารวรรณวิทัศน์. 2, น. 31-46.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2551). ภาษิต คำพังเพย และสำนวนไทย (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

วีรฉัตร วรรณดี. (2550). ความรู้เกี่ยวกับสำนวน. ใน จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ (บรรณาธิการ). ภาษากับการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: พี.เพรส.

สง่า กาญจนาคพันธุ์. (2543). สำนวนไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สำเนียง มณีกาญจน์ และสมบัติ จำปาเงิน. (2542). หลักนักพูด (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

อรวี บุนนาค. (มกราคม-มิถุนายน 2561). ภาพสะท้อนหลักและศิลปะการพูดจากสำนวนไทย. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์. 20(1), 149-163.

อัญชลี สิงห์น้อย. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2545). สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ภาษาส่องวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 10(2), 75-88.

อุบล เทศทอง. (2552). วิถีชีวิตของคนเขมร: ภาพสะท้อนจากภาษิต. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 31(1), 280-310.