การศึกษาคำว่า “ตาม” ในภาษาไทย

Main Article Content

ปิยะวดี คำสุวรรณ
คเชนทร์ ตัญศิริ
อุมาภรณ์ สังขมาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณสมบัติทางความหมายของคำว่า “ตาม” ในภาษาไทยปัจจุบันจากมุมมองภาษาศาสตร์ปริชาน โดยวิเคราะห์ตัวอย่างข้อมูลภาษาจำนวนทั้งหมด 1,000 ข้อมูล จากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติฯ ผลการศึกษาพบว่า คำว่า “ตาม” ในภาษาไทยเป็นคำหลายความหมาย คำว่า “ตาม” สามารถแสดงความหมายได้ 5 ความหมาย ได้แก่ 1) ความหมายเหตุการณ์การเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันกับสิ่งที่เคลื่อนที่นำหน้า 2) ความหมายเหตุการณ์การเรียกตัว 3) ความหมายบ่งชี้ทิศทางของเหตุการณ์การเคลื่อนที่ 4) ความหมายบ่งชี้การเลียนแบบ การเอาอย่าง หรือความสอดคล้อง และ 5) ความหมายบ่งชี้ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ แถว แนว อยู่

Article Details

How to Cite
คำสุวรรณ ป., ตัญศิริ ค., & สังขมาน อ. (2019). การศึกษาคำว่า “ตาม” ในภาษาไทย. วรรณวิทัศน์, 19(2), 179–207. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2019.15
บท
บทความวิจัย

References

กาจบัณฑิต วงศ์ศรี (2547). เครือข่ายความหมายของคำว่า ‘ออก’ ในภาษาไทย: การศึกษาแนวอรรถศาสตร์ปริชาน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

คฺยอง อึน ปาร์ค (2554). ปรากฏการณ์พหุนัยของคำว่า /gada/ ในภาษาเกาหลีเปรียบเทียบกับคำว่า “ไป” ในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

จรัสดาว อินทรทัศน์ (2539). กระบวนการที่คำกริยากลายเป็นบุพบทในภาษาไทย.(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ชัชวดี ศรลัมพ์ (2538). การศึกษามโนทัศน์ของ คำว่า เข้า. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2558). คลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ฯ 2 (Thai National Corpus II). สืบค้นจาก http://www.arts.chula.ac.th/~ling/TNC/corp.php.

ยาใจ ชูวิชา (2536). ความเป็นประโยคของหน่วยสร้างกริยาเรีย ภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.

วิโรจน์ อรุณมานะกุล (2553). ทฤษฎีภาษาศาสตร์. ภาควิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิบค้นจาก http://citeseerx.ist.psu.edu

อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์ (2543). ชนิดของคำในภาษาไทย: การวิเคราะห์ทางวากยสัมพันธ์โดยอาศัยฐานข้อมูลภาษาไทยปัจจุบันสองล้านคำ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Evans, V., & Green, M. (2006). Cognitive Linguistics: An Introduction. Edinburgh: Edinburgh University Press.

Lakoff, G & Johnson, M. (1980). Metaphor We Live By. Chicago and London: University of Chicago Press.

Talmy, L. (1996). Fictive motion in language and ‘ception’. In P. Bloom, M. A. Peterson, L. Nadel & M. F. Garrett (Eds.). Language and Space, pp. 211-276. Cambridge: MIT Press.