ถ้อยคำตอบกลับในการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์

Main Article Content

ศิริพร ปัญญาเมธีกุล

บทคัดย่อ

การใช้ถ้อยคำตอบกลับ (back channel)  เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำหน้าที่ทำให้ผู้สนทนาทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจการสนทนาได้ดีขึ้น  และถ้าเป็นการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์ซึ่งผู้สนทนาไม่สามารถได้ยินเสียงหรือเห็นหน้าผู้สนทนาได้ การตีความหน้าที่ของถ้อยคำตอบกลับจึงเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาได้ว่าผู้สนทนามีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไรในการสื่อสาร ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยจึงสนใจวิเคราะห์ความรู้สึกที่สื่อในถ้อยคำตอบกลับที่ปรากฏในการสนทนาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ในกลุ่มคน  2  กลุ่ม  คือ กลุ่มผู้พูดหรือผู้เขียน และกลุ่มผู้ฟังหรือผู้อ่าน  ผลการวิจัยปรากฏว่าทั้งกลุ่มผู้พูดหรือผู้เขียนและกลุ่มผู้ฟังหรือผู้อ่านมีลักษณะการเลือกใช้และรับรู้ความรู้สึกเกี่ยวกับถ้อยคำตอบกลับเหมือนกัน  โดยถ้อยคำตอบกลับที่พบแบ่งเป็น  3  กลุ่ม  คือ  กลุ่มความรู้สึกดี  ได้แก่  ถ้อยคำ  “จ้า”  “จ๊ะ”  “ค่ะ”  “ค่า” “ได้ๆ”  “โอเค”  (เฉพาะผู้ฟังหรือผู้อ่าน)  กลุ่มความรู้สึกไม่ดี  ได้แก่  ถ้อยคำ  “เออ”  “เอออออ”  “อืม”  “อือ”  “อื้อ”  และกลุ่มความรู้สึกเฉยๆ  ได้แก่  ถ้อยคำ  “เค”  “เคๆ”  “โอเค” (เฉพาะผู้พูดหรือผู้เขียน)  “อะเคร”  “เคร”  “เครๆ”  “อื้ม”  “ได้”  “ดีล”  และ  “ตามนั้น”  งานวิจัยชิ้นนี้เป็นประโยชน์ในการช่วยลดความเข้าใจไม่ตรงกันจากการเข้าใจความรู้สึกของถ้อยคำตอบกลับไม่ตรงกันระหว่างผู้สนทนา

Article Details

How to Cite
ปัญญาเมธีกุล ศ. (2019). ถ้อยคำตอบกลับในการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์. วรรณวิทัศน์, 19(2), 208–226. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2019.16
บท
บทความวิจัย

References

นริศรา หาสนาม. (2558). ถ้อยคำแสดงการเป็นผู้ฟังของผู้ร่วมสนทนาที่มีสถานภาพเท่ากันในบทสนทนาภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นววรรณ พันธุเมธา. (2544). คลังคำ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2562). พจนานุกรมไทย. สืบค้นจาก https://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.

ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (มกราคม-มิถุนายน 2562). ความเข้าใจไม่ตรงกันในการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์. วารสารวจนะ, 7(1), 66-84.

Herring, Susan. (1999). Interaction Coherence in CMC. Journal of Computer-Mediated Communication, 4(1). Retrieved from https://doi.org/10.1111/j.1083-6101.1999.tb00106.x

Sacks, Harvey, Schegloff, Emanuel A. & Jefferson, Gail. (1974). A Simplest Systematics for the Organization of Turn-Taking for Conversation. Language, 50(4), 696-735.

Tao, H., & Thompson, S.A. (1991). English Backchannels in Mandarin Conversations: A Case Study of Superstratum Pragmatic ‘Interference’. Journal of Pragmatics, 16, 209-233.

Xudong, Deng. (2009). Listener Response. In Sigurd D’hondt, Jan-Ola Östman, & Jef Verschueren (Eds.). The Pragmatics of Interaction (pp.104-124). Amsterdam / Philadelphia: John Benjamins Publishing Company.

Yngve, V.H. (1970). On Getting a Word in Edgewise. Papers from the Sixth Regional Meeting of the Chicago Linguistic Society, 567-577.