ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทนบุคคลพ้นโทษในวาทกรรมสนับสนุนบุคคลพ้นโทษในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย

Main Article Content

นครินทร์ สำเภาพล
ศิริพร ภักดีผาสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนของบุคคลพ้นโทษในวาทกรรมสนับสนุนบุคคลพ้นโทษในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ผลการศึกษาพบกลวิธีทางภาษาได้แก่ การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ การใช้คำที่มักปรากฏร่วมกัน การใช้ประโยคที่สัมพันธ์กันแบบขัดแย้ง การใช้ประโยคที่สัมพันธ์กันแบบเหตุ – ผล การใช้อุปลักษณ์
การใช้มูลบท การอ้างคำกล่าวบุคคลพ้นโทษ การอ้างคำกล่าวบุคคลที่น่าเชื่อถือ  และการใช้สหบทเพื่อสื่อภาพตัวแทนบุคคลพ้นโทษ ภาพตัวแทนบุคคลพ้นโทษที่พบมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ภาพตัวแทนด้านบวก ได้แก่ บุคคลพ้นโทษเป็นผู้ผ่านกระบวนการบำบัดฟื้นฟูทักษะอาชีพอย่างดี บุคคลพ้นโทษเป็นผู้ที่กลับตัวกลับใจแล้ว บุคคลพ้นโทษบางส่วนไม่ได้กระทำผิดโดยสันดาน และบุคคลพ้นโทษบางส่วนเป็นผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนภาพตัวแทนบุคคลพ้นโทษด้านลบ ได้แก่  บุคคลพ้นโทษเป็นผู้ด้อยโอกาสที่สังคมไม่ยอมรับและประสบปัญหาการดำเนินชีวิต บุคคลพ้นโทษเป็นผู้มีแนวโน้มจะกระทำผิดซ้ำ บุคคลพ้นโทษเป็นผู้มีประวัติการกระทำความผิด  บุคคลพ้นโทษเป็นผู้ผ่านกระบวนการบำบัดฟื้นฟูที่ไม่มีประสิทธิภาพ  และบุคคลพ้นโทษเป็นบุคคลที่น่าหวาดกลัว ข้อค้นพบนี้ทำให้เห็นได้ว่าแม้ในวาทกรรมข่าวสนับสนุนบุคคลพ้นโทษก็ยังมีการนำเสนอภาพในด้านลบแฝงมาด้วย  การนำเสนอภาพตัวแทนนี้มีส่วนตอกย้ำอคติที่มีต่อบุคคลพ้นโทษและอาจมีผลกระทบต่อนโยบาย “คืนคนดีสู่สังคม” ของภาครัฐ

Article Details

How to Cite
สำเภาพล น., & ภักดีผาสุข ศ. . . (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทนบุคคลพ้นโทษในวาทกรรมสนับสนุนบุคคลพ้นโทษในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย . วรรณวิทัศน์, 20(1), 37–86. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2020.2
บท
บทความวิจัย

References

กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์. (2559). สถิติการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง. สืบค้นจาก http://www.correct.go.th/recstats.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2542). หน้าที่ของอุปลักษณ์จากมุมมองผู้พูดภาษาไทย. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย 16, 249-286.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิวาพร เดชมณี. (2560). การกลับใจของผู้พ้นโทษผ่านทางการใช้ชีวิตในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์: ศึกษากรณีบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพรของมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มนตรา งามวาจา. (2555). แนวทางการพัฒนาการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดหลังปล่อย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รัชนีย์ญา กลิ่นน้ำหอม และณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2551). การเมืองคือการรักษาโรค: มโนอุปลักษณ์ที่สะท้อนจากถ้อยคำอุปลักษณ์ของนักการเมืองไทย. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย 25, 132-157.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการคืนคนดีสู่สังคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

สมสุข หินวิมาน, ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ, ภัทธีรา สารากรบริรักษ์, อารดา ครุจิต, กรรณิกา รุ่งเจริญพงษ์ และกุลนารี เสือโรจน์. (2557). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิทธิภา โลจายะ. (2554). การยอมรับเข้าทำงานของผู้บริหารต่อผู้พ้นโทษหญิงที่ได้รับการฟื้นฟู: ศึกษากรณีโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เสนาะ เจริญพร. (2548). ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพฯ: มติชน.

Fairclough, N. (1992). Discourse and social change. Cambridge, England: Polity Press.

Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: The critical study of Language. London, England: Longman.

Fowler, R. (1991). Language in the news discour and ideology in the press. London, England: Routledge.

Mey, J. (1993). Pragmatics: An introduction. Oxford, England: Blackwell.

Lakoff, G., & Johnson, M.. (1980) Metaphor we live by. Chicago, IL: Chicago University Press.