กลวิธีทางภาษาในการแสดงวัจนกรรมการขู่ของผู้พูดภาษาไทย: กรณีศึกษาคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน

Main Article Content

พรหมมินทร์ ประไพพงษ์
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง

บทคัดย่อ

การขู่เป็นวัจนกรรมที่ช่วยให้ผู้พูดบรรลุความต้องการของตน แต่ในขณะเดียวกันก็อาจส่งผลกระทบ
ต่อความสัมพันธ์กับคู่สนทนา บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาในการแสดงวัจนกรรมการขู่ กรณีศึกษาคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยจำนวน 230 คน จำแนกเป็นข้อมูลจากแบบสอบถามชนิดเติมเต็มบทสนทนา จำนวน 200 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 30 คน แนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ วัจนกรรม และความสุภาพ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้พูดภาษาไทยตัดสินใจแสดง
วัจนกรรมการขู่แล้ว ผู้พูดนิยมใช้กลวิธีที่ทำให้การขู่สัมฤทธิ์ผลมากกว่าการรักษาความสัมพันธ์ ดังจะเห็นได้จากความถี่ของการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลวิธีการทำให้คู่สนทนากลัวและ/หรือให้ทำตามสิ่งที่ผู้พูดต้องการ (ร้อยละ 73.27) 2) กลวิธีการแสดงความไม่พอใจ (ร้อยละ 18.80) และ 3) กลวิธีการพยายามรักษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับคู่สนทนา (ร้อยละ 7.93) ทั้งนี้ผู้วิจัยสันนิษฐานว่าวัจนกรรมการขู่ของคนไทยสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม 2 ประการ คือ แนวคิดเรื่องหน้า และความเกรงใจ

Article Details

How to Cite
ประไพพงษ์ พ., & พานโพธิ์ทอง ณ. . . (2020). กลวิธีทางภาษาในการแสดงวัจนกรรมการขู่ของผู้พูดภาษาไทย: กรณีศึกษาคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน . วรรณวิทัศน์, 20(1), 87–113. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2020.3
บท
บทความวิจัย

References

พูนสวัสดิ์ สุขดี. (2548). รูปแบบของพฤติกรรมข่มขู่ และผลกระทบจากพฤติกรรมข่มขู่ ตามการรับรู้ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Austin, J. L. (1975). How to do things with words. (2nd edition). Oxford, England: Oxford University Press.

Bilmes, J. (2001). Sociolinguistic aspects of Thai politeness (Doctoral dissertation, University of California, Berkeley). Retrieved from https://escholarship.org/uc/item/33t5k8cw

Brown, P, & Levinson, S. (1987). Politeness: Some universal in language usage. London,England: Cambridge University Press.

Fraser, B. (1975). Warning and threatening. Centrum, 3, 169-180.

Leech, G. (1983). Principles of pragmatics. London, England: Longman.

Lakoff, R. (1973). The logic of politeness: Or, Minding your P’s and Q’s. Chicago Linguistic Society, 9, 292-305.

Limberg, H. (2009). Impoliteness and threat responses. Journal of Pragmatics, 41, 1376-1394.

Klauser, W, J. (1981). Reflections on Thai culture. Bangkok, Thailand: Suksit Siam.

Komin, S. (1991). Psychology of Thai people: Values and behavioral patterns. Bangkok, Thailand: Research Center, National Institute of Development Administration.

Nicoloff, F. (1988). Threats and illocution, Journal of Pragmatics, 13, 501 - 522.

Persons, L. S. (2008). The anatomy of Thai face. MANUSAYA: Journal of Humanities, 11 (1), 53–75.

Searle, J. R. (1976). The classification of Illocutionary acts. Language in Society. 5, 1-24.

Ukosakul, M. (2003). Conceptual metaphors motivating the use of Thai ‘face’. Berlin, Germany: Mouton de Gruyter.